วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ข้อควรรู้สำหรับผู้หญิงสำหรับการดื่มไวน์

ข้อควรรู้สำหรับผู้หญิงกับการดื่มไวน์

ถ้า ดูจากสถิติการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทย เทียบเอาปริมาณผู้ดื่มนั้นห่างไกลกับคนในประเทศแถบยุโรปมากนัก เอาเป็นว่ามาพูดถึง "ผู้หญิงนักดื่ม" ดีกว่า จะด้วยรสนิยม หน้าที่การงาน หรือความชื่นชอบส่วนตัวก็ตาม จะเห็นว่า มีสุภาพสตรีไทยนิยมดื่มไวน์กันไม่น้อย ไปจนถึงค่อนข้างมากfo7
การดื่มไวน์เพื่อ สุขภาพนั้น เป็นของดี เปรียบได้กับยาวิเศษ อย่างที่ใคร ๆ ก็ทราบว่า สารฟลาโวนอยด์ในไวน์นั้นดีต่อหัวใจ ช่วยป้องกันหลอดเลือดอุดตันได้ ซึ่งนั่นหมายถึงการเลือกดื่มไวน์ดี ๆ ในปริมาณที่พอดี ๆอย่างไรล่ะ? จึงเรียกว่าพอดี
คนฝรั่งเศสดื่ม ไวน์กันเป็นน้ำ คล้ายกับที่คนเยอรมันดื่มเบียร์กันได้ทั้งวัน และคนรัสเซียเปรียบวอดก้าเหมือนคู่ชีวิต แต่ทั้ง 3 ประเทศ ก็ยังไม่ติดอันดับต้น ๆ ของประเทศที่มีสถิติอุบัติเหตุ อันเนื่องมาจากการเมาแล้วขับ นั่นเพราะกฏหมายอันเข้มงวดส่วนหนึ่งของเขา อีกประการก็คือ พฤติกรรมการดื่ม
ชาวยุโรปนิยมดื่มก่อนมื้ออาหารเป็น เรื่องปกติ นัยว่า เพื่อเรียกน้ำย่อย ดังนั้นบนโต๊ะอาหารของทุกบ้าน จึงไม่แปลที่จะมีขวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์วางอยู่ไม่ขาด หรือแม้กระทั่งในห้องนอน "วันละหนึ่งกรึ๊บก่อนนอน ช่วยให้หลับสบาย" เคยได้ยินคำกล่าวนี้ไหม?สำหรับบ้านเรากลับ เบี่ยงเบนเอนเอียงไปที่เรื่องของการห้ามมิให้ดื่ม หรืออย่าดื่มเพราะไม่ดีไปจนกระทั่ง ไม่ดีอย่าดื่ม เหมือนลืมเสียสิ้นว่าในโลกใบนี้ ทุกสิ่งอย่างล้วนเป็นเสมือนเหรียญสองด้านทั้งสิ้น แค่เพียงคนเรารู้จักที่จะมีชีวิตอยู่กับทุกสิ่งอย่างพอเหมาะ และสมดุลก็จบแล้ว แต่ ณ วันนี้หากประมวลผลดีผลร้ายต่าง ๆ ก็จะพบความจริงที่ว่า "ทุกสิ่งล้วนเป็นผลมาจากพฤติกรรมของคนเรานั่นเอง"
การ กินการดื่มเป็นเรื่องของวัฒนธรรม ดังนั้นคุณสุภาพสตรีผู้นิยมดื่มไวน์ พึงสดับไว้ว่า การดื่มแต่พอเหมาะพอควร 2-3 แก้ว (มาตรฐาน) หรือสำหรับสาวนักดื่มตัวจริงอาจดื่มได้มากกว่านั้น (ซึ่งคุณจะต้องไม่ท้องว่าง) และรู้จักควบคุมความถี่ในการดื่มไปพร้อมกับการมีสติรู้ของตัวเองอยู่เสมอคือ สิ่งที่ดีที่สุด ในยุคนี้จะเห็นว่ามีผู้หญิงไทยวัยทำงานจำนวนมาก พกพาไวน์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เธอชอบไปร่วมปาร์ตี้กับเพื่อน ๆ หรือแอบใส่ไวน์ไว้ในรถเพื่อเตรียมดินเนอร์พิเศษกับใครบางคน จนกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว
ไวน์ 1 ขวด สำหรับผู้หญิงจำนวนไม่น้อย ดื่มมันหมดในมื้อเดียว และเพียงคนเดียว แต่หากอยู่ที่บ้านคงไม่เป็นไร ดังนั้นไวน์ 1 ขวด สำหรับผู้หญิงที่อยากดื่มจริง ๆ เมื่ออยู่นอกบ้าน จึงควรมีเพื่อนดื่มด้วยสักคน จะช่วยให้รื่นรมย์มากกว่า และไม่เมาเกินไปนัก
ข้อสำคัญอย่าลืมว่า กลไกในร่างกายของผู้หญิงนั้น สลายแอลกอฮอล์ได้ช้ากว่าผู้ชาย ไม่ว่าจะเป็นแอลกอฮอล์ประเภทใดก็ตาม ผู้หญิงจึงควรดื่มอย่างมีสติอยู่เสมอ เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของคุณเองนั่นแหละ

ที่มา : www.petsang.com

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พันธุ์องุ่นพื้นเมืองของอิตาลี

              เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องราวของไวน์จากอิตาลีอย่างชัดเจน จึงควรทราบถึงองุ่นพันธุ์พื้นเมืองที่ใช้ทำการผลิตไวน์  ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้มาจาก สถาบันส่งเสริมการค้าและการเกษตร (Istituto di Servizi per il Mercato Agricolo Alimentare) ของประเทศอิตาลี  มีสำนักงานตั้งอยู่ในกรุงโรม (Rome)
              องุ่นพันธุ์พื้นเมือง ที่ปลูกเพื่อทำไวน์ของประเทศอิตาลีจะปลูกกันมานานนับพันปี แต่ในปัจจุบันในหลายท้องถิ่นจะปลูกองุ่นสายพันธุ์วินิเฟร่า (V.vinifera) เช่น พันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) พันธุ์แมร์โล (Merlot) หรือพันธุ์ชาร์ดอนเน่ (Chardonnay)  เพื่อทำไวน์ที่มีรสชาติเป็นสากล (international taste)
              องุ่นพันธุ์พื้นเมือง จะมีอยู่มากกว่า 1,000 พันธุ์ แต่ที่มีบันทึกอย่างเป็นทางการจะมีประมาณ 300 พันธุ์  ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายได้แก่ พันธุ์เนบบิโอโล่ (Nebbiolo) พันธุ์ซานโจเวเซ่ (Sangiovese) พันธุ์บาร์เบร่า (Barbera) พันธุ์คอร์วิน่า (Corvina) พันธุ์โดลเชตโต้ (Dolcetto) พันธุ์มาลวาเซีย (Malvasia) พันธุ์ปริมิติโว่ (Primitivo) พันธุ์เนโร ดาโวล่า (Nero d’Avola) และ พันธุ์เตรบบิอาโน่ (Trebbiano)  เป็นต้น 
Nebbiolo
              พันธุ์เนบบิโอโล่ (Nebbiolo)  เป็นองุ่นแดงที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายในแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte) มาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 13 พร้อมๆ กับพันธุ์ซานโจเวเซ่ (Sangiovese)  มีปลูกกันบ้างเล็กน้อยในแคว้นอื่นๆ แต่มีชื่อเรียกขานแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่   หากปลูกในบริเวณหุบเขาวัลเตลลิน่า (Valtellina Valley) ในแคว้นลอมบาร์ดี (Lombardy) จะเรียกว่า พันธุ์เคียเวนนาสก้า (Chiavennasca) ตามชื่อตำบลเคียเวนน่า (Comune di Chiavenna) ซึ่งอยู่เหนือทะเลสาบโคโม่ (Lago di Como) 
              ปลูกในแคว้นวัลเล่ ดาออสต้า (Valle d’Aosta) จะเรียกว่า พันธุ์ปิคูเทเนอร์ (Picoutener) และปลูกในตำบลโบค่า (Comune di Boca) ตำบลฟาร่า โนวาเรเซ่ (Comune di Fara Novarse) ตำบลกัตตินาร่า (Comune di Gattinara) และตำบลเกมเม่ (Comune di Ghemme) ที่อยู่ทางตอนเหนือของแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte) จะเรียกว่า พันธุ์สปันน่า (Spanna)
              ในหลายๆ พื้นที่ของแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte) อยู่ติดกับเทือกเขาแอลป์ (Alpine ranges) จึงได้รับอิทธิพลของภูมิอากาศแบบอัลไพน์ (Alpine climate) อากาศหนาวเย็นในเวลากลางคืน มีหมอกยามเช้าปกคลุมไร่องุ่นอยู่โดยทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนกันยายนซึ่งมีการเก็บเกี่ยวองุ่นและมีแดดจัดในเวลากลางวัน  ชาวปิเอมอนเตเซ่ (Piemontese) จึงเรียกองุ่นที่ปลูกได้ทั่วไปว่าพันธุ์เนบบิโอโล่ (Nebbiolo) ซึ่งมาจากคำว่าเนบเบีย (nebbia) ในภาษาอิตาเลียน ตรงกับคำว่ามิสต์ (mist) ในภาษาอังกฤษ 
              ลักษณะทางกายภาพขององุ่นพันธุ์นี้มีช่อไม่ใหญ่นัก ขนาดผลเล็กถึงปานกลาง ผลกลมสีน้ำเงินเข้มเกือบดำมีประกายสีม่วง เปลือกบางแต่สุกช้าสามารถเก็บไว้ได้นานและทนต่อความชื้นได้ดี เป็นองุ่นที่ให้ความเป็นกรดสูง (high acidity) มีแทนนินสูง (high tannin) และมีน้ำตาลมาก เหมาะที่จะทำไวน์ที่มีรสฝาดและระดับแอลกอฮอล์สูงกว่าปกติ  ผู้ผลิตหลายรายจะใช้เวลาการหมักไม่นานนัก แต่จะใช้เวลาเก็บบ่มไวน์ (aging) นานๆทั้งก่อนและหลังการบรรจุขวดเพื่อให้ไวน์มีรสชาตินุ่มนวล
              องุ่นพันธุ์เนบบิโอโล่ (Nebbiolo) ใช้ทำไวน์บาโรโล่ (Barolo) และไวน์บาร์บาเรสโก้ (Barbaresco)  สองคู่แฝดที่เป็นสุดยอดไวน์ของแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte) รวมถึงเป็นส่วนผสมหลักของไวน์กัตตินาร่า (Gattinara) และไวน์เกมเม่ (Ghemme) ไวน์แดงชั้นดีของแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte)  องุ่นพันธุ์นี้จะเข้ากันได้ดีกับพันธุ์บาร์เบร่า (Barbera) และพันธุ์โบนาร์ด้า (Bonarda)  
              มีการทดลองนำองุ่นพันธุ์เนบบิโอโล่ (Nebbiolo) ไปปลูกในหลายแห่ง เช่น ประเทศอาเจนติน่า ประเทศอุรุกวัย ประเทศออสเตรเลีย และรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา  แต่ก็ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
Sangiovese
              พันธุ์ซานโจเวเซ่ (Sangiovese)  เป็นองุ่นแดงที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายในทุกๆ แคว้นตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 13  เชื่อกันว่าเป็นพันธุ์องุ่นป่า (wild native grape) ในวงศ์ซิลเวสตริส (V.silvestris) ที่ชาวเอทรุสกัน (Etruscans) เป็นผู้นำมาปลูกบนคาบสมุทรในบริเวณที่เป็นแคว้นลาซิโอ (Lazio) เมื่อ 2,000 ปีที่ผ่านมา ต่อมามีการนำมาปลูกในแคว้นเอมิเลีย-โรมานญ่า (Emilia-Romagna) และได้แพร่หลายไปทั่วประเทศ 
              เป็นองุ่นพันธุ์หลักของแคว้นเอมิเลีย-โรมานญ่า (Emilia-Romagna) ที่ใช้ทำไวน์ซานโจเวเซ่ ดิ โรมานญ่า (Sangiovese di Romagna)  รวมถึงเป็นองุ่นพันธุ์หลักของแคว้นทัสคานี (Tuscany) ที่ใช้ทำไวน์บรูเนลโล่ ดิ มอนตาลชิโน่ (Brunello di Montalcino) และเป็นส่วนผสมหลักในไวน์เคียนติ (Chianti)  รวมถึงเป็นส่วนผสมของไวน์ชั้นดีอีกหลายชนิด
              ลักษณะทางกายภาพขององุ่นพันธุ์นี้มีผลคล้ายลูกเชอรี่ มีเปลือกบางสีน้ำเงินเข้มเกือบดำเมื่อสุกเต็มที่  ทำไวน์ชนิดโครงสร้างปานกลาง (medium-bodied) ให้สีที่ไม่เข้มมากนัก ให้ความเป็นกรดสูง (high acidity) มีแทนนินปานกลาง (medium tannin)   ปลูกในตำบลสคันซาโน่ (Comune di Scansano) เมืองกรอซเซโต้ (Grosseto) จะเรียกว่า พันธุ์โมเรลลิโน่ (Morellino)  หากปลูกในตำบลมอนเต้ปูลชาโน่ (Comune di Montepulciano) เมืองซิเอน่า (Siena) จะเรียกว่า พันธุ์ปรุนโยโล่ เจนติเล่ (Prugnolo gentile)   
              นอกจากปลูกได้ดีในประเทศอิตาลีแล้วยังพบว่าสามารถปลูกได้ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ในประเทศออสเตรเลีย และในประเทศอาเจนติน่า 
Barbera
              พันธุ์บาร์เบร่า (Barbera)  เป็นองุ่นแดงจากแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte) ที่ปลูกกันมากเป็นอันดับสามของประเทศรองจากพันธุ์ซานโจเวเซ่ (Sangiovese) และพันธุ์มอนเต้ปูลชาโน่ (Montepulciano)  ลักษณะทางกายภาพขององุ่นพันธุ์นี้มีผลกลมรูปใข่สีน้ำเงินเข้ม  ใช้ทำไวน์บาร์เบร่า (Barbera) ไวน์แดงที่มีโครงสร้างปานกลาง (medium-bodied) และเป็นส่วนผสมในไวน์ชั้นเยี่ยมของแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte)  เป็นองุ่นที่ให้ความเป็นกรดสูง (high acidity) มีแทนนินบางเบา (light tannin)  มีฤดูเก็บเกี่ยวช้ากว่าองุ่นพันธุ์เนบบิโอโล่ (Nebbiolo)  นอกจากจะปลูกในแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte) แล้ว ยังปลูกกันได้ในหลายๆ แคว้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแคว้นเอมิเลีย-โรมานญ่า (Emilia-Romagna) และแคว้นลอมบาร์ดี (Lombardy) 
              นอกจากนี้ พันธุ์บาร์เบร่า ซาร์ด้า (Barbera Sarda)  ที่เป็นสายพันธุ์ย่อย (sub-variety) ก็มีการปลูกกันในแคว้นซาร์ดิเนีย (Sardinia)  
Dolcetto
              พันธุ์โดลเชตโต้ (Dolcetto)  เป็นองุ่นแดงจากแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte)  ลักษณะทางกายภาพขององุ่นพันธุ์นี้มีช่อยาวทรงปิรามิด ขนาดผลปานกลาง ผลกลมสีน้ำเงินเข้มเกือบดำ มีแทนนินบางเบา (light tannin) มีกลิ่นหอมที่ผสมผสานของผลไม้ (fruities) นานาชนิด  ใช้ทำไวน์โดลเชตโต้ (Dolcetto) และเป็นส่วนผสมในไวน์แดงอีกหลายชนิดของแคว้น 
              คำว่า “dolcetto”  หมายถึง “little sweet thing”  มาจากลักษณะขององุ่นที่ความหวานเล็กน้อย  เมื่อนำมาทำไวน์จะมีความนุ่มนวล อ่อนโยน มีระดับแอลกอฮอล์ไม่สูงมากนัก มักจะเก็บเกี่ยวในช่วงเวลาที่องุ่นสุกพอดี (ripe)  จะมีความหวานมากเมื่อสุกจัด (overripe)  นอกจากจะปลูกกันอย่างแพร่หลายในแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte) แล้ว  ยังมีปลูกกันบ้างในแคว้นลิกูเรีย (Liguriaรวมถึงยังมีการปลูกในหลายแห่ง เช่น ในประเทศฝรั่งเศส ประเทศออสเตรเลีย และในรัฐคาลิฟอร์เนีย
พันธุ์คอร์วิน่า (Corvina)  เป็นองุ่นแดงที่มีถิ่นกำเนิดในเมืองเวโรน่า (Verona) แคว้นเวเนโต้ (Veneto)  ชาวเวโรเนเซ่ (Veronese) จึงมีความภูมิใจที่จะให้เรียกองุ่นพันธุ์นี้ว่า คอร์วิน่า เวโรเนเซ่ (Corvina Veronese) ในอดีตถูกเรียกว่าพันธุ์ริซซ่า (Rizza)  ลักษณะทางกายภาพขององุ่นพันธุ์นี้มีช่อขนาดปานกลางรูปทรงปิรามิดช่อจะยาวกว่าพันธุ์อื่นๆ ใบขนาดปานกลางรูป 5 แฉกปลายใบเรียว สีผิวองุ่นสดสวยจะออกทางม่วงเข้มหรือน้ำเงิน ผลกลมเกลี้ยงขนาดไม่ใหญ่นักและมีเมล็ดน้อย จะปลูกได้ดีบนเนินเขาสูง   มีคุณลักษณะพิเศษจะให้สีที่เข้มข้นและให้ความนุ่มนวลในไวน์ และให้กลิ่นหอมที่ยั่วยวนใจ  ไม่ปรากฏมีการปลูกในแคว้นอื่นๆ
              เป็นส่วนผสมหลักที่ใช้ทำไวน์อมาโรเน่ เดลล่า วัลโปลิเชลล่า (Amarone della Valpolicella) ไวน์เรโชโต้ เดลล่า วัลโปลิเชลล่า (Recioto della Valpolicella) และไวน์วัลโปลิเชลล่า (Valpolicella) 
              พันธุ์คอร์วิโนเน่ (Corvinone)  เป็นองุ่นแดงของแคว้นเวเนโต้ (Veneto) ที่เริ่มรู้จักในปีค..1980 แต่ไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าใดนัก  ลักษณะทางกายภาพขององุ่นพันธุ์นี้มีผลใหญ่กว่าองุ่นพันธุ์คอร์วิน่า เวโรเนเซ่ (Corvina Veronese) แต่มีใบคล้ายกัน  คนส่วนใหญ่จึงเข้าใจว่าเป็นองุ่นพันธุ์คอร์วิน่า เวโรเนเซ่ (Corvina Veronese)  แต่นักการศึกษาให้ความเห็นว่าเป็นองุ่นพันธุ์พื้นเมืองอีกพันธุ์หนึ่งที่สามารถปลูกได้ดีบนเนินเขาสูง มีผลใหญ่กลมผิวองุ่นสีน้ำเงินเฉดม่วง ช่อใหญ่รูปทรงคล้ายปิรามิด หากปลูกในระยะเวลาเดียวกันจะสุกช้ากว่าองุ่นพันธุ์อื่นๆ  ผู้ผลิตไวน์จะใช้ทดแทนองุ่นพันธุ์คอร์วิน่า เวโรเนเซ่ (Corvina Veronese) ได้บางส่วน
              พันธุ์เนกราร่า (Negrara)  เป็นองุ่นแดงของแคว้นเวเนโต้ (Veneto) ที่ปลูกกันโดยทั่วไปในบริเวณวัลโปลิเชลล่า  (Valpolicella area) เขตเมืองเวโรน่า (Verona)  ลักษณะทางกายภาพขององุ่นพันธุ์นี้มีช่อที่ไม่ค่อยเป็นรูปร่างสวยงามนัก ผลสีม่วงเข้มขนาดไม่ใหญ่  บางแห่งเรียกว่า พันธุ์เตโรโดล่า (Terodola)  ใช้เป็นส่วนผสมในไวน์บาร์โดลิโน่ (Bardolino)  แต่ผู้ผลิตไวน์บางรายจะนำไปเป็นส่วนผสมของไวน์วัลโปลิเชลล่า (Valpolicella)  ด้วย
              พันธุ์โบนาร์ด้า (Bonarda)  เป็นองุ่นแดงที่ปลูกกันมากในแคว้นลอมบาร์ดี (Lombardy) มีปลูกกันบ้างในแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte) และยังพบว่ามีปลูกกันบ้างในแคว้นเอมิเลีย-โรมานญ่า (Emilia-Romagna) เป็นองุ่นอีกพันธุ์หนึ่งที่ใช้ทำไวน์แดงได้ดี ใช้เป็นส่วนผสมในไวน์วัลโปลิเชลล่า (Valpolicella) และไวน์แดงชั้นดีอีกหลายฉลากของแคว้นลอมบาร์ดี (Lombardy) และแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte)  ไม่ปรากฏมีการปลูกในแคว้นอื่นใด
              ส่วน พันธุ์โบนาร์ด้า โนวาเรเซ่ (Bonarda Novarese) เป็นสายพันธุ์ย่อย ที่มีการปลูกในเมืองโนวาร่า (Novara) แคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte) และนำไปปลูกในแคว้นลอมบาร์ดี (Lombardy) เท่านั้น
              พันธุ์รอนดิเนลล่า (Rondinella)  เป็นองุ่นแดงของแคว้นเวเนโต้ (Veneto) ที่รู้จักกันครั้งแรกในปีค..1882  ปลูกมากบริเวณวัลโปลิเชลล่า (Valpolicella area)  ลักษณะทางกายภาพขององุ่นพันธุ์นี้มีช่อขนาดใหญ่รูปทรงกระบอกและผลใหญ่ ใบ 5 แฉกขนาดใหญ่ ผลกลมเกลี้ยงสีม่วงถึงดำ มีความต้านทานโรคได้ดี  ใช้เป็นส่วนผสมรองในไวน์อมาโรเน่ เดลล่า วัลโปลิเชลล่า (Amarone della Valpolicella) ไวน์เรโชโต้ เดลล่า วัลโปลิเชลล่า (Recioto della Valpolicella)  และไวน์วัลโปลิเชลล่า (Valpolicella)  จะให้แทนนินที่มากกว่าปกติรวมทั้งกลิ่นหอมของดอกไม้  ไม่พบว่ามีการปลูกในแคว้นอื่นใดเช่นกัน
              พันธุ์โมลินาร่า (Molinara)  เป็นองุ่นแดงของแคว้นเวเนโต้ (Veneto) ที่รู้จักกันครั้งแรกในปีค..1800  บางครั้งถูกเรียกว่าองุ่นเค็ม (salted grape) ปลูกได้ดีตามเชิงเนินเขา ลักษณะทางกายภาพขององุ่นพันธุ์นี้มีช่อขนาดใหญ่รูปทรงกระบอกและผลใหญ่แต่ไม่แน่นช่อ  มีใบ 3 แฉกขนาดใหญ่มาก มีความต้านทานโรคได้ดี ผลกลมเกลี้ยงสีม่วงอ่อนเกือบขาว จะให้ความเป็นกรดและกลิ่นหอมที่แตกต่างออกไป  แต่เดิมเคยถูกกำหนดให้ใช้เป็นส่วนผสมรองในไวน์อมาโรเน่ เดลล่า วัลโปลิเชลล่า (Amarone della Valpolicella) ไวน์เรโชโต้ เดลล่า วัลโปลิเชลล่า (Recioto della Valpolicella)  และไวน์วัลโปลิเชลล่า (Valpolicella)  แต่ในปัจจุบันเป็นเพียงแค่ “optional” สำหรับผู้ผลิตเท่านั้น  ไม่ปรากฏมีการปลูกในแคว้นอื่นใด
              พันธุ์โครอาติน่า (Croatina)  เป็นองุ่นแดงที่มีปลูกกันในแคว้นลอมบาร์ดี (Lombardy) แต่มีการปลูกในแคว้นเอมิเลีย-โรมานญ่า (Emilia-Romagna) และแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte) บ้างเช่นกัน  เข้ากันได้ดีกับองุ่นพันธุ์โบนาร์ด้า (Bonarda) จึงทำให้ผู้ผลิตหลายรายนำมาผสมกันในการทำไวน์  มีนักการศึกษาบางกลุ่มให้ความเห็นว่าอาจเป็นองุ่นพันธุ์โบนาร์ด้า (Bonarda) ที่นำมาปลูกในบริเวณคอลลิ ปิอาเชนตินิ (Colli Piacentini area) ใกล้เมืองปิอาเชนซ่า (Piacenza) และบริเวณโอลเตรโป ปาเวเซ่ (Oltrepo Pavese area) ใกล้เมืองปาเวีย (Pavia)  ใช้เป็นส่วนผสมของไวน์แดงท้องถิ่นของแคว้นลอมบาร์ดี (Lombardy) และใช้ผสมกับองุ่นพันธุ์โบนาร์ด้า (Bonarda) ในแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte)
              พันธุ์ลัมบรุสโก้ (Lambrusco)  เป็นองุ่นแดงที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายแคว้นเอมิเลีย-โรมานญ่า (Emilia-Romagna)  เชื่อกันว่าเป็นพันธุ์องุ่นป่าในสายพันธุ์ซิลเวสตริส (V.silvestris) เช่นเดียวกับองุ่นพันธุ์ซานโจเวเซ่ (Sangiovese)  ใช้ทำไวน์ลัมบรุสโก้ (Lambrusco) 2 ชนิด คือ ไวน์แดงกึ่งหวานมีฟอง หรือ วิโน่ ฟริซซานเต้ อมาบิเล่ (Vino Frizzante Amabile) มีระดับแอลกอฮอล์ 8.0 เปอร์เซ็นต์ และไวน์แดงไม่หวานมีฟอง หรือ วิโน่ ฟริซซานเต้ เซคโค่ (Vino Frizzante Secco) มีระดับแอลกอฮอล์ 11.0 เปอร์เซ็นต์ 
              พันธุ์บรูเนลโล่ (Brunello)  เป็นองุ่นแดงพันธุ์ซานโจเวเซ่ (Sangiovese) ที่ปลูกในตำบลมอลตาลชิโน่ (Comune di Montalcino) แคว้นทัสคานี (Tuscany)  แต่เดิมเมื่อปีค..1870 องุ่นพันธุ์นี้จะรู้จักกันในชื่อว่าพันธุ์ซานโจเวเซ่ กรอซโซ่ (Sangiovese grosso) เนื่องจากชาวมอลตาลชิเนเซ่ (Montalcinese) ได้นำเอาองุ่นพันธุ์ซานโจเวเซ่ (Sangiovese) มาทำการต่อกิ่งเพื่อให้มีความต้านทานต่อโรคฟิลล๊อกเซร่า (phylloxera)
              พันธุ์อาเลียนิโก้ (Aglianico)  เป็นองุ่นแดงป่าที่นำมาจากประเทศกรีซ (Greece)  นักการศึกษาให้ความเห็นว่า ชื่อของไวน์มาจาก เอลเลนิโก้ (ellenico) คำในภาษาละติน หรืออาจมาจากคำว่า เฮลเลนิค (Hellenic) ในภาษากรีก  เป็นองุ่นที่ปลูกได้ดีในดินภูเขาไฟ (Valcanic soils) และพื้นที่ที่มีแสงอาทิตย์ส่อง  หากปลูกในช่วงเวลาเดียวกันจะสุกช้ากว่าพันธุ์อื่น  พบว่ามีการปลูกมานานกว่า 2,500 ปีแล้วในแคว้นบาซิลิกาต้า (Basilicata) และแคว้นคัมปาเนีย (Campania) ใช้ทำไวน์อาเลียนิโก้ เดล วุลตูเร่ (Aglianico del Vulture) ไวน์แดงชั้นดีของแคว้นบาซิลิกาต้า (Basilicata)  และเป็นส่วนผสมหลักในไวน์เตาราซิ (Taurasi) ไวน์แดงชั้นยอดของแคว้นคัมปาเนีย (Campania) 
              พันธุ์เนโร ดาโวล่า (Nero d’Avola)  เป็นองุ่นแดงของแคว้นซิซิลี (Sicily) มีถิ่นกำเนิดในตำบลอโวล่า (Comune di Avola) เมืองซิราคูซ่า (Siracusa) ชุมชนเล็กๆ ที่อยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะ  จึงถูกเรียกขานกันว่า “the black grape of Avola” หรือ “Nero di Avola” 
              องุ่นพันธุ์นี้ปลูกได้ทั่วทุกพื้นที่บนเกาะ หากปลูกทางตอนเหนือของเกาะ จะเรียกว่า พันธุ์คาลาเบรเซ่ (Calabrese)  เป็นองุ่นที่ต้องมีความพิถีพิถันและความละเอียดอ่อนในการเก็บ  ต้องเก็บในช่วงเวลาที่องุ่นสุกพอดี ให้ไวน์สีแดงโกเมนเข้ม มีประกายสีม่วง   ใช้เป็นส่วนผสมในไวน์แดงชั้นดีของแคว้น เช่น ไวน์เนโร ดาโวล่า (Nero d’Avola) และไวน์แดงอีกหลายชนิด ไม่พบว่ามีปลูกในแคว้นอื่นใด   นักการศึกษาหลายท่านให้ความเห็นว่ามีคุณสมบัติคล้ายองุ่นพันธุ์ชิราส (Shiraz)  เมื่อนำไปทำไวน์จะเป็นไวน์ที่ดื่มง่ายแต่จะต้องการเวลาในการเก็บบ่มระยะหนึ่งและจะดียิ่งขึ้นถ้าเก็บบ่มในถังไม้โอ๊ก  สามารถเข้ากันได้ดีเมื่อต้องนำไปผสมกับองุ่นพันธุ์อื่นๆ
              พันธุ์ปริมิติโว่ (Primitivo)  เป็นองุ่นแดงที่พบในแคว้นปูเลีย (Puglia) ที่ด๊อกเตอร์คาโรล เมเรดิธ (Dr.Carole Meredith) นักวิจัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ทำการพิสูจน์แล้วว่ามี DNA เหมือนกันกับองุ่นพันธุ์ซินฟานเดล (Zinfandel) ที่โด่งดังในสหรัฐอเมริกา และพันธุ์พลาวัค มาลิ (Plavac Mali) ที่เป็นองุ่นชั้นดีของประเทศโครเอเทีย (Croatiaพบว่ามีการปลูกกันบ้างในแคว้นคัมปาเนีย (Campania)  ใช้ทำไวน์ปริมิติโว่ (Primitivo) ไวน์แดงที่มีโครงสร้างหนักแน่น และมีระดับแอลกอฮอล์สูง
              พันธุ์ปิเอดิรอซโซ่ (Piedirosso)  เป็นองุ่นแดงที่มีการปลูกเฉพาะในแคว้นคัมปาเนีย (Campania)  ใช้เป็นส่วนผสมในไวน์หลายชนิดของแคว้น  เป็นพันธุ์องุ่นที่มีโคนต้นสีแดงจึงเป็นที่มาของชื่อ ปิเอดิรอซโซ่ (Piedirosso)  ซึ่งมาจากคำว่า “piedi” ผสมกับคำว่า “rosso”
              พันธุ์ลาคริม่า (Lacrima)  เป็นองุ่นแดงที่พบในแคว้นมาร์เค่ (Marche) มีผลเป็นรูปไข่ (oval) มีเนื้อมาก เมื่อสุกจัดผลจะปริและมีน้ำไหลออกมา  มีถิ่นกำเนิดในตำบลมอร์โร่ ดัลบ้า (Comune di Morro d’Alba) เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า พันธุ์กาลิอ๊อปโป้ (Gaglioppo)  ใช้ทำไวน์ลาคริม่า ดิ มอร์โร่ ดัลบ้า (Lacrima di Morro d’Alba) ไวน์เกรดดีโอซี.(DOC) ของแคว้นมาร์เค่ (Marche) ที่เป็นทั้งไวน์แดง และไวน์แดงหวานชนิดปาซซิโต้ (Passito)  
              “lacrima” เป็นภาษาอิตาเลียน แปลว่า ‘tear” ในภาษาอังกฤษ  ชื่อของพันธุ์องุ่นได้ถูกเรียกตามลักษณะของผลที่คล้ายหยดน้ำตา
              พันธุ์มอนเต้ปูลชาโน่ (Montepulciano)  เป็นองุ่นแดงที่ปลูกในแคว้นมาร์เค่ (Marche) และแคว้นอาบรุซโซ่ (Abruzzo)  มีใบ 5 แฉกขนาดกลาง ลักษณะทางกายภาพขององุ่นพันธุ์นี้มีช่อขนาดกลางรูปทรงกระบอกและผลกลมเกลี้ยงขนาดกลางสีม่วงถึงดำ  ใช้เป็นส่วนผสมหลักในไวน์รอซโซ่ โคเนโร (Rosso Conero) และไวน์รอซโซ่ ปิเชโน (Rosso Piceno)  รวมถึงใช้เป็นส่วนผสมหลักในไวน์มอนเตปูลชาโน่ ดาบรุซโซ่ (Montepulciano d’Abruzzo) ของแคว้นอาบรุซโซ่ (Abruzzo)
              พันธุ์อูว่า ดิ โตรย่า (Uva di Troia)  เป็นองุ่นแดงที่ปลูกในแคว้นปูเลีย (Puglia) ที่นำมาจากประเทศกรีซ (Greece)  เชื่อกันว่าชื่อของพันธุ์องุ่นมาจากชื่อเมืองทรอย (Troy) ที่มีประวัติศาสตร์อันเก่าแก่  ใช้เป็นส่วนผสมเพียงเล็กน้อยในไวน์ของแคว้นนี้
              พันธุ์ซากรานติโน่ (Sagrantino)  เป็นองุ่นแดงที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายในตำบลมอนเตฟัลโก้ (Montefalco) เมืองเปรูจา (Perugia) แคว้นอุมเบรีย (Umbria)  โดยเชื่อกันว่าเมล็ดพันธุ์องุ่นถูกนำมาจากทวีปเอเชียไมเนอร์ (Asia minor) โดยบาทหลวงฟรานซิส (St. Francis) เพื่อนำมาปลูกในบริเวณเนินเขามาร์ตานิ (Colli Martani) เมื่อปีค..1540  
              ต้นองุ่นพันธุ์ซากรานติโน่ (Sagrantino) อายุ 150 ปี ยังหลงเหลืออยู่ในบริเวณศาสนสถานของโบสถ์ซานตา คิเอร่า (Santa Chiara Church) ในตำบลมอนเตฟัลโก้ (Montefalco)  ใช้ทำไวน์ซากรานติโน่ ดิ มอนเตฟัลโก้ (Sagrantino di Sagrantino) ไวน์เกรดดีโอซีจี.(DOCG) ของแคว้นอุมเบรีย (Umbria) ซึ่งมีทั้งสติลไวน์ (still wine) และไวน์แดงหวานชนิดปาซซิโต้ (Passito) คล้ายกับไวน์เรโชโต้ เดลล่า วัลโปลิเชลล่า (Recioto della Valpolicella)
              พันธุ์บราเกตโต้ (Brachetto)  เป็นองุ่นแดงที่ปลูกมากบริเวณเมืองอัสติ (Asti) และเมืองอเลสซานเดรีย (Alessandria) ในแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte)  ใช้ทำไวน์บราเกตโต้ ดัคคุย (Brachetto d’Aqui) ไวน์แดงชนิดหวานที่มีชื่อเสียงของแคว้น  ยังไม่พบว่ามีการปลูกในแคว้นอื่นๆ
              พันธุ์เวสโปลิน่า (Vespolina)  เป็นองุ่นแดงที่มีถิ่นกำเนิดในแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte) หากปลูกในแคว้นลอมบาร์ดี (Lombardy) จะเรียกว่า พันธุ์อูเกตต้า (Ughetta)  ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะใช้ผสมกับองุ่นพันธุ์เนบบิโอโล่ (Nebbiolo) และพันธุ์โบนาร์ด้า (Bonarda)  
              พันธุ์กร๊อปเปลโล่ (Groppello)  เป็นองุ่นแดงที่มีการปลูกเฉพาะในแคว้นลอมบาร์ดี (Lombardy) จะพบบริเวณฝั่งตะวันตกของทะเลสาบการ์ด้า (Lago di Garda)  มี พันธุ์กร๊อปเปลโล่ ดิ โมคาซิน่า (Groppello di mocasina) พันธุ์กร๊อปเปลโล่ ดิ ซานโต สเตฟาโน่ (Groppello di Santo Stefano) และ พันธุ์กร๊อปเปลโล่ เจนติเล่ (Groppello gentile) เป็นสายพันธุ์ย่อย 
              พันธุ์โรสเซเซ่ (Rossese)  เป็นองุ่นแดงที่มีการปลูกเฉพาะในแคว้นลิกูเรีย (Liguria) เท่านั้น โดยจะมีการปลูกบริเวณรอบๆ ตำบลโดลเช่อัคควา (Dolceacqua) ที่อยู่ทางทิศตะวันตกของของแคว้นใกล้ชายแดนติดต่อกับประเทศโมนาโค (Monaco)  ใช้ทำไวน์แดงโรสเซเซ่ ดิ โดลเช่อัคควา (Rossese di Dolceacqua)
              พันธุ์ชิลิเอโจโล่ (Ciliegiolo)  เป็นองุ่นแดงที่ปลูกในแคว้นลิกูเรีย (Liguria) เช่นเดียวกัน แต่มีการนำไปใช้เป็นส่วนผสมของไวน์แดงของแคว้นทัสคานี (Tuscany)  มีกลิ่นคล้ายผลเชอรี่สุกอย่างชัดเจนซึ่งแตกต่างจากองุ่นพันธุ์อื่นๆ
              พันธุ์โปลเลร่า เนร่า (Pollera nera)  เป็นองุ่นแดงที่มีการปลูกเฉพาะในแคว้นลิกูเรีย (Liguria) และแคว้นคัมปาเนีย (Campania)  จะใช้เป็นส่วนผสมในไวน์แดงระดับมาตรฐานทั่วไป
              พันธุ์คาลาเบรเซ่ (Calabrese)  เป็นองุ่นพันธุ์เนโร ดาโวล่า (Nero d’Avola) ที่ปลูกทางตอนเหนือของแคว้นซิชิลี (Sicily) มีคุณสมบัติคล้ายองุ่นพันธุ์ชิราส (Shirazมีปลูกในแคว้นคาลาเบรีย (Calabria) ด้วยเช่นกัน
              พันธุ์เฟรอิซ่า (Freisa)  เป็นองุ่นแดงที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายในแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte) มีปลูกกันบ้างในแคว้นลอมบาร์ดี (Lombardy) 
              พันธุ์อาเลอาติโก้ (Aleatico)  เป็นองุ่นแดงที่ปลูกกันทั่วไปแทบทุกแคว้น  ใช้เป็นส่วนผสมของไวน์แดงชนิดหวานของแคว้นทัสคานี (Tuscany) แคว้นลาซิโอ (Lazio) และแคว้นปูเลีย (Puglia)
              พันธุ์ปิโน เนโร (Pinot nero)  เป็นองุ่นแดงพันธุ์ปิโน นัวร์ (Pinot noir) ที่นำมาจากประเทศฝรั่งเศส  ใช้ทำไวน์แดงชั้นดีของแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte) แคว้นมาร์เค่ (Marche) และแคว้นวัลเล่ ดาออสต้า (Valle d’Aostaปลูกได้ทั่วไปทั้งประเทศ
              พันธุ์มาลวาเซีย (Malvasia)  เป็นพันธุ์องุ่นที่ปลูกกันมากที่สุดในประเทศอิตาลี  มีทั้งองุ่นแดงและองุ่นเขียว ใช้เป็นส่วนผสมในไวน์ชั้นดีของหลายๆ แคว้น  สันนิษฐานว่านำมาจากประเทศกรีซ (Greece) เมื่อ 2,000 ปีที่ผ่านมา               
              พันธุ์มาลวาเซีย ดิ คาซอร์โซ่ (Malvasia di Casorzo)  เป็นองุ่นแดงที่ปลูกในแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte) เพียงแคว้นเดียว 
              พันธุ์มาลวาเซีย เนร่า ดิ บาซิลิกาต้า (Malvasia nera di Basilicata) พันธุ์มาลวาเซีย เนร่า ดิ บรินดิสิ (Malvasia nera di Brindisi) และ พันธุ์มาลวาเซีย เนร่า ดิ เลชเช่ (Malvasia nera di Lecce)  เป็นองุ่นแดงที่ปลูกในแคว้นปูเลีย (Puglia)
              พันธุ์มาลวาเซีย โรซ่า (Malvasia rosa)  เป็นองุ่นแดงที่ปลูกในแคว้นเตรนติโน่-อัลโต้ อาดิเจ้ (Trentino-Alto Adige)
              พันธุ์มาลวาเซีย เบียงค่า (Malvasia bianca)  เป็นองุ่นเขียวที่ปลูกในแคว้นทัสคานี (Tuscany) แคว้นลาซิโอ (Lazio) และแคว้นอุมเบรีย (Umbria)  
              พันธุ์มาลวาเซีย ดิ ซาร์เดนญ่า (Malvasia di Sardegna)  เป็นองุ่นเขียวที่ปลูกในแคว้นซาร์ดิเนีย (Sardinia)
              พันธุ์มาลวาเซีย ดิ สเคียราโน่ (Malvasia di Schierano)  เป็นองุ่นเขียวที่ปลูกในแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte) 
              พันธุ์มาลวาเซีย เดล ลาซิโอ (Malvasia del Lazio) และ พันธุ์มาลวาเซีย เบียงค่า ดิ คันเดีย (Malvasia bianca di Candia)  เป็นองุ่นเขียวที่ปลูกในแคว้นลาซิโอ (Lazio)
              พันธุ์มาลวาเซีย เบียงค่า ดิ บาซิลิกาต้า (Malvasia bianca di Basilicata)  เป็นองุ่นเขียวที่ปลูกในแคว้นบาซิลิกาต้า (Basilicata)             
              พันธุ์มาลวาเซีย ดิ ลิปาริ (Malvasia di Lipari)  เป็นองุ่นเขียวที่ปลูกในหมู่เกาะลิปาริ (Lipari Islands) ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นซิซิลี (Sicily)
              พันธุ์มาลวาเซีย อิสเตรียน่า (Malvasia Istriana)  เป็นองุ่นเขียวที่ปลูกในแคว้นฟริอูลิ-เวเนเซีย จูเลีย (Friuli-Venezia Giulia)  
              พันธุ์บาร์เบร่า เบียงค่า (Barbera bianca)  เป็นองุ่นเขียวที่ปลูกในแคว้นเอมิเลีย-โรมานญ่า (Emilia-Romagna) และแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte) 
              พันธุ์มอสกาโต้ เบียงโค่ (Moscato bianco)  เป็นองุ่นเขียวที่ปลูกกันทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแคว้นภาคเหนือ ใช้ทำไวน์มอสกาโต้ ดัสติ (Moscato d’Asti) ไวน์อัสติ สปูมานเต้ (Asti Spumante) และไวน์โลอาซโซโล (Loazzolo) ของแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte)
              พันธุ์เตรบบิอาโน่ (Trebbiano)  เป็นองุ่นเขียวที่ปลูกกันมากที่สุด โดยปลูกกันอย่างแพร่หลายไปทั่วประเทศ  ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าแหล่งกำเนิดมาจากที่ใด แต่ในประเทศฝรั่งเศสเรียกว่าพันธุ์อูยิ บลอง (Ugli blanc)  แบ่งออกเป็นหลายสายพันธุ์ โดยมีชื่อเรียกตามพื้นที่ปลูก เช่น
              พันธุ์เตรบบิอาโน่ ดิ ลูกาน่า (Trebbiano di Lugana)  เป็นองุ่นเขียวที่ปลูกในแคว้นลอมบาร์ดี (Lombardy) 
              พันธุ์เตรบบิอาโน่ ดิ โซอาเว่ (Trebbiano di Soave)  เป็นองุ่นเขียวที่ปลูกในแคว้นเวเนโต้ (Veneto)
              พันธุ์เตรบบิอาโน่ จาลโล่ (Trebbiano giallo)  เป็นองุ่นเขียวที่ปลูกในแคว้นลาซิโอ (Lazio)
              พันธุ์เตรบบิอาโน่ โมเดเนเซ่ (Trebbiano Modenese) และ พันธุ์เตรบบิอาโน่ โรมานโยโล่ (Trebbiano Romagnolo)  เป็นองุ่นเขียวที่ปลูกในแคว้นเอมิเลีย-โรมานญ่า (Emilia-Romagna)        
              พันธุ์เตรบบิอาโน่ สโปเลติโน่ (Trebbiano Spoletino)  เป็นองุ่นเขียวที่ปลูกในแคว้นอุมเบรีย (Umbria)
              พันธุ์เตรบบิอาโน่ ตอสกาโน่ (Trebbiano toscano)  เป็นองุ่นเขียวที่ปลูกในแคว้นทัสคานี (Tuscany)
              พันธุ์โตไก ฟริอูลาโน่ (Tocai Friulano)  เป็นองุ่นเขียวที่พบในแคว้นฟริอูลิ-เวเนเซีย จูเลีย (Friuli-Venezia Giulia) ซึ่งมิใช่เป็นพันธุ์โตไก (Tokai) จากแคว้นอัลซาส (Alsace) หรือพันธุ์โตกาอิ (Tokaji) จากประเทศฮังการี  เดิมทีชาวท้องถิ่นเรียกองุ่นพันธุ์นี้ว่าพันธุ์โตไก (Tokai)  แต่ทางประชาคมเศรษฐกิจแห่งทวีปยุโรป (EEC - European Economic Community) บังคับให้เพิ่มคำว่าฟริอูลาโน่ (Friulano) เพื่อที่จะได้แยกแยะกันอย่างชัดเจนว่าเป็นพันธุ์องุ่นจากถิ่นฟริอูลิ (Friuli)  ใช้เป็นส่วนผสมหลักของไวน์ฟริอูลิ ลาติซาน่า (Friuli Latisana) และใช้เป็นส่วนผสมในไวน์คอลลิ โอเรียนตาลิ เดล ฟริอูลิ (Colli Orientali del Friuli)
              พันธุ์เกรโก้ (Greco)  เป็นองุ่นเขียวที่พบในแคว้นคัมปาเนีย (Campania) เชื่อว่านำมาจากประเทศกรีซ (Greece)  ชื่อพันธุ์องุ่นจึงเรียกจะเรียกตามต้นกำเนิด เช่นเดียวกับองุ่นพันธุ์เกรเคตโต้ (Grechetto) และพันธุ์เกรคานิโก้ (Grecanico)  ใช้เป็นส่วนผสมของไวน์เกรโก้ ดิ ตูโฟ่ (Greco di Tufo) ไวน์ขาวชั้นเลิศเกรดดีโอซีจี.(DOCG) ของแคว้น
              พันธุ์อัลบาน่า (Albana)  เป็นองุ่นเขียวที่ปลูกกันมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิ์โรมันเรืองอำนาจ  ปลูกมากในแคว้นเอมิเลีย-โรมานญ่า (Emilia-Romagna)  มีสภาพความเป็นกรดสูง มีเนื้อปานกลาง  ใช้ทำไวน์อัลบาน่า ดิ โรมานญ่า (Albana di Romagna) ไวน์ขาวเกรดดีโอซีจี.(DOCG) ของแคว้น
             
              นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งขององุ่นพันธุ์พื้นเมืองที่ชาวอิตาเลียนยังคงรักษาไว้ให้เป็นมรดกแห่งชาติ และรักษาไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ยึดถือเป็นแบบอย่าง  และเชื่อว่าองุ่นพันธุ์พื้นเมืองเหล่านี้จะยังคงยืนยงอยู่ต่อไปอีกตราบนานเท่านานบนผืนแผ่นดินแห่งนี้..แผ่นดินที่มีชื่อว่า ประเทศอิตาลี

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ไวน์วัลเตลลิน่า สฟอร์ซาโต้ (Valtellina Sforzato)

องุ่นแห้งจากแคว้นลอมบาร์ดี
ไวน์วัลเตลลิน่า สฟอร์ซาโต้ (Valtellina Sforzato)

              เมื่อปีค.ศ.2007  ผมดื่มไวน์กับเพื่อนชาวอิตาเลียนที่มาเยี่ยมเยือนถึงเมืองไทย เพื่อนคนนี้ได้หอบหิ้วไวน์อิตาเลียนมาให้ 2 ขวด หนึ่งในนั้นเป็นไวน์วัลเตลลิน่า สฟูร์แซต (Valtellina Sfursat) ของบริษัท นิโน่ เนกริ (Nino Negri) รุ่นไฟฟ์ สเตลเล่ (5 Stelle) วินเทจ 2003 ซึ่งเป็นไวน์เกรดดีโอซีจี.(DOCG)  ในเวลานั้นเป็นไวน์ที่ยังไม่ค่อยมีใครรู้จักกันเท่าใดนักและหากเอามาทำไบลด์ เทสติ้ง (blind testing) หลายท่านคงต้องเกิดความพิศวงเช่นเดียวกับผม เนื่องจากไวน์ตัวนี้มีอโรม่าที่คล้ายคลึงกับไวน์บาโรโล่ (Barolo) แต่มีรสชาติที่ออกไปทางไวน์อมาโรเน่ เดลล่า วัลโปลิเชลล่า (Amarone della Valpolicella)
              เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าประเทศอิตาลีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 แคว้น ทุกแคว้นมีความสามารถที่จะผลิตไวน์ได้มากน้อยตามแต่สภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศ  ไวน์อิตาเลียนที่รู้จักกันดีในบ้านเราจะเป็นไวน์มาจากแคว้นทัสคานี (Tuscany) และแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte) รองลงไปเป็นไวน์จากแคว้นเวเนโต้ (Veneto)  แต่ไวน์วัลเตลลิน่า สฟูร์แซต (Valtellina Sfursat) หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า ไวน์วัลเตลลิน่า สฟอร์ซาโต้ (Valtellina Sforzato) ที่ผมกล่าวถึงข้างต้นนั้น เป็นไวน์แดงจากแคว้นลอมบาร์ดี (Lombardy) ที่มีการทำองุ่นให้แห้งเช่นเดียวกับกับไวน์อมาโรเน่ เดลล่า วัลโปลิเชลล่า (Amarone della Valpolicella)  ซึ่งไม่ค่อยเผยโฉมหน้ามาให้คอไวน์ในบ้านเราได้ชื่นชมกันมากนัก
              แต่จากนี้ไปจะพาท่านไปทำความรู้จักกับไวน์ตัวนี้พร้อมๆ กัน
              แคว้นลอมบาร์ดี (Lombardy) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte) มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน (ค.ศ.2010) มีเมืองมิลาน (Milan) เป็นเมืองหลวง  ทั่วทั้งแคว้นมีพื้นที่ปลูกองุ่นประมาณ 27,000 เฮ็คต้าร์ และมีผลผลิตไวน์รวมประมาณ 1,665,000 เฮ็คโตลิตร ซึ่งนับว่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับแคว้นที่อยู่ใกล้เคียงกัน
              หลายท่านคงคุ้นเคยกับการไปเดินช๊อปปิ้งสินค้าแบรนด์ดังที่เมืองมิลาน (Milan) มาแล้ว  ผมจึงขอให้นึกภาพว่าพื้นที่ทางเหนือของเมืองมิลาน (Milan) ซึ่งเป็นสุดเขตแดนด้านทิศเหนือของแคว้นลอมบาร์ดี (Lombardy) จะเป็นหุบเขาเขียวขจีสูงชันที่มีชื่อว่า ถิ่นวัลเตลลิน่า (Valtellina area) พื้นที่นี้มีลักษณะเป็นแนวยาวเหมือนกับแถบผ้า (strip of lands) มีระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร  รายล้อมด้วยเทือกเขา 3 ด้าน  
              จากทิศเหนือถึงทิศตะวันออกมีเทือกเขาอัลปิ เรติเค่ (Alpi Retiche) ที่มีความสูง 3,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ทางทิศใต้มีเทือกเขาอัลปิ โอโรบิเค่ (Alpi Orobiche) ที่มีความสูงลดหลั่นลงมาเล็กน้อย ซึ่งเทือกเขาเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาแอลป์ (Alps)  จุดศูนย์กลางของถิ่นวัลเตลลิน่า (Valtellina area) อยู่ที่เมืองซอนดริโอ (Sondrio)   
              อันที่จริงแล้วสภาพทางภูมิประเทศที่เป็นเขาสูงชันของถิ่นวัลเตลลิน่า (Valtellina area) ไม่เหมาะที่จะปลูกองุ่นเท่าใดนัก แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่ช่วยทำให้สามารถปลูกองุ่นได้ เช่น มีแตร์รัวร์ที่เป็นดินทรายปนโคลนผสมกับเศษหินแกรนิตที่ให้น้ำซึมผ่านได้ดี  มีไร่ปลูกองุ่นหันหน้าออกสู่ทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งรับแสงจากดวงอาทิตย์ได้เกือบตลอดทั้งวัน และมีเทือกเขาเป็นแนวป้องกันธรรมชาติรูปครึ่งวงกลมที่ป้องกันลมหนาวจากเทือกเขาแอลป์  การปลูกองุ่นในถิ่นนี้จะทำกันบริเวณแนวไหล่เขาลาดชันบนความสูง 300-600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ที่เรียกกันว่า เทอเรซ วินยาร์ด (Terraced vineyards)   
              ในฤดูกาลปกติของถิ่นวัลเตลลิน่า (Valtellina area) จะเริ่มปลูกองุ่นประมาณเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ฝนทิ้งช่วง ในเดือนมิถุนายนจะเริ่มออกดอกและตามด้วยมีผลขนาดเล็ก จากนั้นในเดือนกรกฏาคมและเดือนสิงหาคม อุณหภูมิจะเริ่มสูงขึ้นซึ่งองุ่นจะเริ่มเจริญเติบโตและจะสุกเต็มที่ในเดือนกันยายน  การเก็บเกี่ยวจะใช้เวลาในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกันยายนจนถึงสัปดาห์แรกของเดือนตุลาคม
              จากสภาพอากาศที่หนาวเย็นเกือบทั้งปีแต่มีแดดจัดในตอนกลางวันทำให้สามารถปลูกองุ่นพันธุ์เนบบิโอโล่ (Nebbiolo) ได้ดี  องุ่นพันธุ์นี้ถูกนำเข้าปลูกในบริเวณหุบเขาวัลเคียเวนน่า (Val Chiavenna) ที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองซอนดริโอ (Sondrio) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 และมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายในถิ่นวัลเตลลิน่า (Valtellina area) ระหว่างปีค.ศ.1550-1797  ชาวท้องถิ่นจึงเรียกองุ่นพันธุ์นี้ว่า พันธุ์เคียเวนนาสก้า (Chiavennasca)
              ลักษณะเด่นขององุ่นพันธุ์นี้ก็คือลักษณะเด่นขององุ่นพันธุ์เนบบิโอโล่ (Nebbiolo) นั่นเอง  มีกลิ่นสมุนไพร กลิ่นดอกไม้ กลิ่นเห็ดทรัฟเฟิ้ล กลิ่นผลไม้เปลือกสีดำ และกลิ่นเชอร์รี่
              การทำไวน์แดงในถิ่นวัลเตลลิน่า (Valtellina area) จะมีไวน์วัลเตลลิน่า สฟอร์ซาโต้ (Valtellina Sforzato) ไวน์เกรดดีโอซีจี.(DOCG) ไวน์วัลเตลลิน่า ซูเปริออเร่ (Valtellina Superiore) ไวน์เกรดดีโอซีจี.(DOCG) ที่มีผลผลิตไวน์รวมกันปีละ 18,000 เฮ็คโตลิตร เกือบทั้งหมดส่งออกไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และทำไวน์รอซโซ่ ดิ วัลเตลลิน่า (Rosso di Valtellina) ไวน์เกรดดีโอซี.(DOC) เพียง 4,000 เฮ็คโตลิตร ซึ่งไวน์ทั้งหมดจะใช้องุ่นพันธุ์เคียเวนนาสก้า (Chiavennasca) โดยที่ไวน์วัลเตลลิน่า สฟอร์ซาโต้ (Valtellina Sforzato) จะนำเอาองุ่นไปผึ่งให้แห้งโดยลมเย็นในฤดูหนาว  แต่ไวน์วัลเตลลิน่า ซูเปริออเร่ (Valtellina Superiore) และไวน์รอซโซ่ ดิ วัลเตลลิน่า (Rosso di Valtellina) จะใช้องุ่นสดเหมือนกับการทำไวน์ทั่วไป 
              ส่วนการทำไวน์ขาวในถิ่นวัลเตลลิน่า (Valtellina area) จะมีไวน์แตร์ราซเซ่ เรติเค่ ดิ ซอนดริโอ (Terrazze Retiche di Sondrio) ไวน์เกรดไอจีที.(IGT) ที่ใช้องุ่นพันธุ์โซวินยอง บลอง (Sauvignon blanc) เป็นส่วนผสมหลัก และเบลนด์ด้วยองุ่นพันธุ์เคียเวนนาสก้า (Chiavennasca)    
              ที่เป็นสุดยอดไวน์ในถิ่นวัลเตลลิน่า (Valtellina area) และเป็นสุดยอดไวน์ของแคว้นลอมบาร์ดี (Lombardy) คือ ไวน์วัลเตลลิน่า สฟอร์ซาโต้ (Valtellina Sforzato) ไวน์แดงที่ผสมผสานลักษณะเด่นของไวน์อมาโรเน่ เดลล่า วัลโปลิเชลล่า (Amarone della Valpolicella) และไวน์บาโรโล่ (Barolo) เข้าไว้ด้วยกัน  ไวน์ตัวนี้ถูกยกขึ้นเป็นไวน์ในเขตดีโอซีจี.สฟอร์ซาโต้ ดิ วัลเตลลิน่า (Sforzato di Valtellina DOCG) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค..2003       
              คำว่า สฟอร์ซาโต้ (Sforzato) เป็นที่รู้จักกันครั้งแรกในศตวรรษที่ 13  โดยมีหนังสือที่เขียนถึงไวน์ชนิดหนึ่งที่ทำจากองุ่นท้องถิ่นที่นำไปผึ่งให้แห้ง เรียกว่า สฟอร์ซาโต้ หรือ อโรมาติคไวน์ (Aromatic wine)  ซึ่งในช่วงเวลานั้นถือว่าเป็นไวน์ชนิดพิเศษที่จะดื่มเป็นยาบำรุงร่างกายหรือมีไว้สำหรับเจ้านายหรือผู้ครอบครองที่ดิน (land owner) หรือใช้เลี้ยงรับรองแขกพิเศษเท่านั้น
              มาถึงในศตวรรษที่ 14-18 มีการผลิตไวน์ชนิดนี้กันอย่างแพร่หลาย จึงทำให้มีการบริโภคกันในท้องถิ่นและส่งออกไปขายยังต่างประเทศ
              ไวน์วัลเตลลิน่า สฟอร์ซาโต้ (Valtellina Sforzato) ใช้องุ่นพันธุ์เคียเวนนาสก้า (Chiavennasca) ที่ปลูกบนหน้าผาสูงชัน  องุ่นถูกนำมาวางให้แห้งโดยลมเย็นของฤดูหนาวเป็นเวลาประมาณ 110-120 วัน ซึ่งทำให้น้ำในผลองุ่นจะลดลงไปประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ น้ำองุ่นจะมีความเข้มข้นขึ้น และมีกลิ่นหอมที่ซับซ้อนเกิดขึ้นเหนือกว่าไวน์ที่ผลิตจากองุ่นสด  มีแหล่งผลิตในตำบลคิอูโร่ (Comune di Chiuro) ตำบลติราโน่ (Comune di Tirano) ตำบลเมเซ่ (Comune di Mese) และหมู่บ้านวิลล่า ดิ ติราโน่ (Villa di Tirano)  ซึ่งทั้งหมดอยู่ในเมืองซอนดริโอ (Sondrio) 
              ตามกฎเกณฑ์ของคอนซอร์ซิโอ ดิ ตูเตล่า วินิ ดิ วัลเตลลิน่า (Consorzio di Tutela Vini di Valtellina) ซึ่งเป็นสมาคมที่ทำหน้าที่ควบคุมการผลิตไวน์ในเขตวัลเตลลิน่า แคว้นลอมบาร์ดี (Lombardy)   องุ่นที่นำมาทำไวน์วัลเตลลิน่า สฟอร์ซาโต้ (Valtellina Sforzato) จะต้องมีผลผลิตองุ่นไม่เกิน 40 เฮ็คโตลิตรต่อพื้นที่ปลูก 1 เฮ็คต้าร์ (yield per hactar) ใช้องุ่นพันธุ์เคียเวนนาสก้า (Chiavennasca) ไม่ต่ำกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือให้ใช้องุ่นแดงที่ปลูกในเมืองซอนดริโอ (Sondrio) เก็บบ่มไวน์ในถังบาร์ริค (barrique) ไม่น้อยกว่า 20 เดือน และเก็บบ่มในขวดไม่น้อยกว่า 12 เดือน  ไวน์จะต้องมีระดับแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่า 14.0 เปอร์เซ็นต์  
              เทคนิคพิเศษอีกอย่างหนึ่งของการทำไวน์วัลเตลลิน่า สฟอร์ซาโต้ (Valtellina Sforzato) ที่แตกต่างไปจากไวน์อมาโรเน่ เดลล่า วัลโปลิเชลล่า (Amarone della Valpolicella) ก็คือองุ่นที่นำเข้ากระบวนการผลิตจะทำให้มีอุณหภูมิต่ำระหว่าง 0-3 องศา
              วินเทจ 2002 เป็นวินเทจที่น่าสนใจมากของไวน์วัลเตลลิน่า สฟอร์ซาโต้ (Valtellina Sforzato) เพราะเป็นหนึ่งในฤดูกาลที่เยี่ยมยอดของเมืองซอนดริโอ (Sondrio) เนื่องจากมีฤดูร้อนที่ไม่ร้อนจนเกินไป มีฝนตกตามฤดูกาลปกติ และองุ่นสุกช้ากว่าฤดูกาลปกติประมาณ 2 สัปดาห์ ทั้งๆ ที่การผลิตไวน์ในแคว้นอื่นๆ ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร  แต่วินเทจที่ดีระดับ 5 ดาว ของไวน์วัลเตลลิน่า สฟอร์ซาโต้ (Valtellina Sforzato) ได้แก่ วินเทจ 1989 / 1997 / 1999 / 2001 / 2004 / 2005 และ 2006  ส่วนวินเทจระดับ 4 ดาว ได้แก่ วินเทจ 1990 / 1995 / 2002 และ 2003
              ผู้ผลิตไวน์ในถิ่นวัลเตลลิน่า (Valtellina area) มีอยู่ 29 ราย  กลุ่มผู้ผลิตไวน์วัลเตลลิน่า สฟอร์ซาโต้ (Valtellina Sforzato) ที่โดดเด่นที่สุดคือ บริษัท นิโน่ เนกริ (Nino Negri) บริษัท อัลโด ไรนัลดิ (Casa Vinicola Aldo Rainaldi) และบริษัท มาเมเต้ เปรโวสตินิ (Casa Vinicola Mamete Prevostini)                 
              แต่ไวน์วัลเตลลิน่า สฟอร์ซาโต้ (Valtellina Sforzato) ที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางคือ ไวน์วัลเตลลิน่า สฟูร์แซต ไฟฟ์ สเตลเล่ (Valtellina Sfursat 5 Stelle) ที่มีสัญลักษณ์ดาว 5 ดวง ของบริษัท นิโน่ เนกริ (Nino Negri)  
              บริษัท นิโน่ เนกริ (Nino Negri) เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ในตำบลคิอูโร่ (Comune di Chiuro) ก่อตั้งมาตั้งแต่ปีค.ศ.1897 ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของนายคาร์ลุชโช่ เนกริ (Carluccio Negri)  มีพื้นที่ปลูกองุ่น 38 เฮคต้าร์ อยู่ในเขตซาซเซลล่า (Sassella) เขตกรูเมลโล่ (Grumello) เขตอินแฟร์โน่ (Inferno) และเขตฟรานช่า (Francia) มีเซลล่าที่ใหญ่โตสวยงามซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคฤหาสน์ใหญ่ที่สร้างในศตวรรษที่ 15  มีกระบวนการผลิตที่ทันสมัย หมักองุ่นในถังเหล็กไร้สนิม (stainless steel) เก็บบ่มไวน์ในถังไม้สลาโวเนียน (Slavonian oak) และถังบาร์ริค (barrique)  ผู้ผลิตรายนี้ทำไวน์วัลเตลลิน่า สฟอร์ซาโต้ (Valtellina Sforzato) ออกมา 2 ฉลาก คือ ไวน์วัลเตลลิน่า สฟูร์แซต (Valtellina Sfursat) และไวน์วัลเตลลิน่า สฟูร์แซต ไฟฟ์ สเตลเล่ (Valtellina Sfursat 5 Stelle)  
              ไวน์วัลเตลลิน่า สฟูร์แซต ไฟฟ์ สเตลเล่ (Valtellina Sfursat 5 Stelle) ที่ผมได้ดื่มจะมีสัญลักษณ์ดาวสีทอง 5 ดวงบนฉลากไวน์ด้านบน เป็นตัวที่ดีที่สุดของบริษัท นิโน่ เนกริ (Nino Negri) โดยจะผลิตเฉพาะในวินเทจที่ดีปีละ 25,000 ขวดเท่านั้น  ใช้องุ่นพันธุ์เคียเวนนาสก้า (Chiavennasca) 100 เปอร์เซ็นต์ จากเขตกรูเมลโล่ (Grumello) ซึ่งปลูกองุ่นพันธุ์เคียเวนนาสก้า (Chiavennasca) ได้ดีที่สุด  นำมาผึ่งลมให้แห้งเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน หมักในถังเหล็กไร้สนิม เก็บบ่มในถังบาร์ริคใหม่ เป็นเวลา 20-24 เดือน  ผลิตครั้งแรกในปีค..1983   
              ไวน์วัลเตลลิน่า สฟูร์แซต ไฟฟ์ สเตลเล่ (Valtellina Sfursat 5 Stelle) ได้รับรางวัลทรี กลาสส์ (Three Glasses Award) 11 ครั้ง จากวินเทจ 1989 / 1994 / 1995 / 1996 / 1997 / 1998 / 1999 / 2001 / 2002 / 2003 และ 2006  ไวน์จากวินเทจ 1999 ได้รับการยกย่องว่าเป็นไวน์แดงยอดเยี่ยมแห่งปี 2003 (The best red wines of the year 2003) จากสำนักพิมพ์ กัมเบโร่ รอซโซ่ (Gambero Rosso Editore)  
              ไวน์จากวินเทจ 2006  ที่ออกมาล่าสุดจะหาซื้อได้ที่เมืองมิลาน (Milan) ในราคาไม่เกิน 50 ยูโร แต่หากซื้อที่สนามบินโรม ฟูมิชิโน่ (Rome Fiumicino Airport) ต้องจ่ายถึง 55 ยูโร 
                                          
              แฟนไวน์ชาวไทยหลายท่านอาจชอบไวน์บาโรโล่ (Barolo) ที่มีแทนนินและแอซิดสูง หลายท่านอาจชอบความนุ่มนวลของไวน์อมาโรเน่ เดลล่า วัลโปลิเชลล่า (Amarone della Valpolicella) ที่เอาองุ่นพันธุ์คอร์วิน่า (Corvina) มาผึ่งลมให้แห้งในฤดูหนาว  แต่หากได้สัมผัสกับไวน์วัลเตลลิน่า สฟอร์ซาโต้ (Valtellina Sforzato) จากแคว้นลอมบาร์ดี (Lombardy) เพียงแค่ครั้งเดียว  ผมเชื่อว่าไวน์ตัวนี้จะเป็นไวน์ในดวงใจตัวใหม่ของท่านอย่างแน่นอน