วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เจาะลึกไวน์จากแคว้นทัสคานี : ไวน์จากเมืองลิวอร์โน (Livorno)


                                      ไวน์จากเมืองลิวอร์โน่ (Livorno)


              เมืองลิวอร์โน่ (Livorno) เป็นเมืองใหญ่ที่อยู่ทางทิศตะวันตกของแคว้นทัสคานี (Tuscany) ติดกับทะเลไทเรเนียน (Tyrrhenian Sea) มีพื้นที่ประมาณ 1,211 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 340,387 คน (ค.ศ.2008)  ดินแดนแห่งนี้มีไวน์อิตาเลียนชั้นดีอยู่มากมาย แต่เป็นเพียงแค่ไวน์เกรดดีโอซี.(DOC) และไวน์เกรดตอสกาน่า ไอจีที.(Toscana IGT) เท่านั้น
              ไวน์โบลเกริ (Bolgheri) และ ไวน์โบลเกริ ซาสซิคาย่า (Bolgheri Sassicaia)
              ไวน์โบลเกริ (Bolgheri) เป็นไวน์เกรดดีโอซี.(DOC) ในเขตไวน์โบลเกริ (Bolgheri DOC appellation) ที่ถูกกำหนดขึ้นในปีค.ศ.1994  แหล่งผลิตจะอยู่ในชุมชนโบลเกริ (Bolgheri Zone) ตำบลคาสตานเยโต้ คาร์ดุชชิ (Comune di Castagneto Carducci) โดยมีการผลิตทั้งไวน์โบลเกริ รอซโซ่ (Bolgheri Rosso) ไวน์โบลเกริ เบียงโค่ (Bolgheri Bianco) ไวน์โบลเกริ โรซาโต้ (Bolgheri Rosato) และไวน์โบลเกริ วิน ซานโต้ อ๊อคคิโอ้ ดิ แปร์นิเช่ (Bolgheri Vin Santo Occhio di Pernice)                                 
              ไวน์โบลเกริ ซาสซิคาย่า (Bolgheri Sassicaia) เป็นไวน์เกรดดีโอซี.(DOC) เฉพาะพื้นที่ๆ เล็กๆ ซึ่งแต่เดิมเป็นเขตย่อย (sub-zone) ในเขตไวน์โบลเกริ (Bolgheri DOC appellation)  แต่ในปัจจุบันแยกเป็นเขตอิสระออกจากเขตไวน์โบลเกริ (Bolgheri DOC appellation)
              การผลิตไวน์โบลเกริ (Bolgheri) และไวน์โบลเกริ ซาสซิคาย่า (Bolgheri Sassicaia) จะอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์การผลิตของ คอนซอร์ซิโอ ดิ ตูเตล่า โบลเกริ (Consorzio di Tutela Bolgheri)  โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1.  ไวน์โบลเกริ (Bolgheri) จะต้องทำการผลิตในตำบลคาสตานเยโต้ คาร์ดุชชิ (Comune di Castagneto Carducci) โดยมีการผลิตไวน์โบลเกริ รอซโซ่ (Bolgheri Rosso) ไวน์โบลเกริ โรซาโต้ (Bolgheri Rosato) ไวน์โบลเกริ เบียงโค่ (Bolgheri Bianco) และไวน์โบลเกริ วิน ซานโต้ อ๊อคคิโอ้ ดิ แปร์นิเช่ (Bolgheri Vin Santo Occhio di Pernice)
2.  ไวน์โบลเกริ รอซโซ่ (Bolgheri Rosso) ชนิดธรรมดา และ “Superiore”  ใช้องุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) 10-80 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์แมร์โล (Merlot) พันธุ์ซานโจเวเซ่ (Sangiovese) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน ไม่เกิน 70 เปอร์เซ็นต์  ส่วนที่เหลือจะใช้องุ่นแดงพื้นเมืองที่ปลูกในเมืองลิวอร์โน่ (Livorno) ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์
3.  ไวน์โบลเกริ โรซาโต้ (Bolgheri Rosato) ชนิดธรรมดา ใช้องุ่นแดงชนิดเดียวกัน และในสัดส่วนเดียวกันกับไวน์โบลเกริ รอซโซ่ (Bolgheri Rosso)
4.  ไวน์โบลเกริ เบียงโค่ (Bolgheri Bianco) ชนิดธรรมดา ใช้องุ่นเขียวพันธุ์เตรบบิอาโน่ ตอสกาโน่ (Trebbiano toscano) พันธุ์แวร์เมนติโน่ (Vermentino) พันธุ์โซวินยอง บลอง (Sauvignon blanc) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน ไม่เกิน 70 เปอร์เซ็นต์  ส่วนที่เหลือจะใช้องุ่นเขียวที่ปลูกในเมืองลิวอร์โน่ (Livorno) ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์
5.  ไวน์โบลเกริ วิน ซานโต้ อ๊อคคิโอ้ ดิ แปร์นิเช่ (Bolgheri Vin Santo Occhio di Pernice) ชนิดธรรมดา ใช้องุ่นแดงพันธุ์ซานโจเวเซ่ (Sangiovese) 50-70 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์มาลวาเซีย เนร่า (Malvasia nera) 30-50 เปอร์เซ็นต์  
6.  ไวน์โบลเกริ รอซโซ่ (Bolgheri Rosso) ยังสามารถที่จะใช้ร่วมกับคำว่า “Superiore” ได้ก็ต่อเมื่อมีการเก็บบ่มเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 24 เดือน เริ่มจากวันที่ 1 มกราคม หลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยว โดยเก็บบ่มในถังบาร์ริค (barrique) เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 12 เดือน เก็บบ่มในขวดไม่ต่ำกว่า 6 เดือน  และต้องมีระดับแอลกอฮอล์ ไม่ต่ำกว่า 12.5 เปอร์เซ็นต์
7.  ไวน์โบลเกริ เบียงโค่ (Bolgheri Bianco) ที่จะระบุชื่อพันธุ์องุ่นบนฉลากไวน์ ให้ใช้องุ่นเขียวพันธุ์แวร์เมนติโน่ (Vermentino) หรือ พันธุ์โซวินยอง บลอง (Sauvignon blanc) ไม่น้อยกว่า 85 เปอร์เซ็นต์  ส่วนที่เหลือจะใช้องุ่นเขียวที่ปลูกในเมืองลิวอร์โน่ (Livorno) ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์
8.  ไวน์โบลเกริ ซาสซิคาย่า (Bolgheri Sassicaia) ในเขตย่อย (sub-zone) ใช้องุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) 85 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์คาเบอร์เน่ ฟรอง (Cabernet franc) 15 เปอร์เซ็นต์  ต้องมีการเก็บบ่มเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 24 เดือน เริ่มจากวันที่ 1 มกราคม หลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยว โดยเก็บบ่มในถังบาร์ริค (barrique) เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 18 เดือน เก็บบ่มในขวดไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
              ผู้ผลิตไวน์โบลเกริ (Bolgheri Wine Producers) ในระดับคุณภาพจะมีอยู่มากมาย
              บริษัท มิเคเล่ ซัตต้า (Michele Satta) ของนายมิเคเล่ ซัตต้า (Michele Satta) หนุ่มใหญ่ผู้จบการศึกษาด้านการเกษตร (The Agricultural School) จากมหาวิทยาลัยแห่งเมืองมิลาน (The University of Milan) ที่อพยพมาอยู่ตำบลคาสตานเยโต้ คาร์ดุชชิ (Comune di Castagneto Carducci) เมื่อปีค.ศ.1974
              ทำไวน์โบลเกริ รอซโซ่ ปิอัสตราย่า (Bolgheri Rosso Piastraia) โดยใช้องุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) พันธุ์แมร์โล (Merlot) พันธุ์ซีร่าห์ (Syrah) และพันธุ์ซานโจเวเซ่ (Sangiovese) อย่างละ 25 เปอร์เซ็นต์  เก็บบ่มในถังบาร์ริค (barrique) และถังไม้โอ๊กขนาดใหญ่ เป็นเวลา 12 เดือน และเก็บบ่มในขวด 6 เดือน
              บริษัท คาซ่า คามาร์คันด้า (Ca’ Marcanda) ของนายอันเจโล กาย่า (Angelo Gaja) ที่ขยายฐานธุรกิจไวน์มายังแคว้นทัสคานี (Tuscany) ในปีค..1996  โดยซื้อไร่คาซ่า มาร์คันด้า (Ca’ Marcanda Vineyard) ในตำบลคาสตานเยโต้ คาร์ดุชชิ (Comune di Castagneto Carducci) เนื้อที่ 200 เอเคอร์ เพื่อปลูกองุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) พันธุ์แมร์โล (Merlot) พันธุ์คาเบอร์เน่ ฟรอง (Cabernet franc) และพันธุ์ซีร่าห์ (Syrah)  ผลิตไวน์โปรมิส (Promis) ไวน์มาการิ (Magari) และไวน์โบลเกริ รอซโซ่ คามาร์คันด้า (Bolgheri Rosso Camarcanda)  ไวน์แดงฉลากใหม่ที่มีรูปแบบของฉลากไวน์รูปทรงเรขาคณิต เน้นสีให้ตัดกันอย่างชัดเจน  แตกต่างไปจากรูปแบบฉลากไวน์แบบเก่าที่ผลิตจากแคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte)
              ทำไวน์โบลเกริ รอซโซ่ คามาร์คันด้า (Bolgheri Rosso Camarcanda) โดยใช้องุ่นแดงพันธุ์แมร์โล (Merlot) 50 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือจะเป็นพันธุ์คาเบอร์เน่ ฟรอง (Cabernet franc)  เก็บบ่มในถังบาร์ริค (barrique) เป็นเวลา 18 เดือน และเก็บบ่มในขวด 12 เดือน
              บริษัท เดล ลอเนลลาย่า (Tenuta dell’ Ornellaia)  ผู้ผลิตไวน์ที่อยู่ภายใต้ร่มเงาของบริษัท มาร์เคสิ เด เฟรสโคบาลดิ (Marchesi de’ Frescobaldi) แห่งเมืองฟลอเรนซ์ (Florence)  
              ทำไวน์โบลเกริ รอซโซ่ ซูเปริออเร่ ออร์เนลลาย่า (Bolgheri Rosso Sup.Ornellaia) เป็นครั้งแรกจากวินเทจ 1985  โดยใช้องุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) 79 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์แมร์โล (Merlot) 18 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์คาเบอร์เน่ ฟรอง (Cabernet franc) 3 เปอร์เซ็นต์ โดยที่สัดส่วนจะเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยตามคุณภาพขององุ่นในแต่ละวินเทจ
              แต่นับจากวินเทจ 2003 เป็นต้นไป จะใช้พันธุ์เปอตี แวร์โด (Petit verdot) เข้ามาเป็นส่วนผสมประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์  ซึ่งในวินเทจ 2007 จะใช้พันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) 55 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์แมร์โล (Merlot) 27 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์คาเบอร์เน่ ฟรอง (Cabernet franc) 14 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์เปอตี แวร์โด (Petit verdot) 4 เปอร์เซ็นต์
              ไวน์ดีอีกฉลากหนึ่งจากผู้ผลิตรายนี้คือ ไวน์โบลเกริ รอซโซ่ เล แซร์เร่ นูโอเว่ เดล ลอร์เนลลาย่า (Bolgheri Rosso Le Serre Nuove dell’Ornellaia) ซึ่งผลิตครั้งแรกจากวินเทจ 1997 เปรียบเสมือนไวน์ฉลากที่สองของผู้ผลิตรายนี้  ในวินเทจ 2008 จะใช้องุ่นแดงพันธุ์แมร์โล (Merlot) 50 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) 35 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์คาเบอร์เน่ ฟรอง (Cabernet franc) 9 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์เปอตี แวร์โด (Petit verdot) 6 เปอร์เซ็นต์
              บริษัท อาร์เจนติเอร่า (Tenuta Argentiera)  เป็นผู้ผลิตไวน์ที่มีการร่วมลงทุนระหว่างพี่น้องในตระกูลฟราตินิ (Fratini family) กับ มาร์เคเซ่ ปิเอโร่ อันติโนริ (Marchese Piero Antinori)  ทำไวน์โบลเกริ รอซโซ่ ซูเปริออเร่ อาร์เจนติเอร่า (Bolgheri Rosso Sup.Argentiera) โดยใช้องุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) 50 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์แมร์โล (Merlot) 40 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์คาเบอร์เน่ ฟรอง (Cabernet franc) 10 เปอร์เซ็นต์  เก็บบ่มในถังบาร์ริค (barrique) เป็นเวลา 14 เดือน และเก็บบ่มในขวด 12 เดือน
              บริษัท กรัตตามัคโค่ (Podere Grattamacco)  ก่อตั้งในปีค..1977  ทำไวน์โบลเกริ รอซโซ่ ซูเปริออเร่ กรัตตามัคโค่ (Bolgheri Rosso Sup.Grattamacco) ครั้งแรกจากวินเทจ 1978  โดยใช้องุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) 65 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์แมร์โล (Merlot) 20 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์ซานโจเวเซ่ (Sangiovese) 15 เปอร์เซ็นต์  เก็บบ่มในถังบาร์ริค (barrique) เป็นเวลา 18 เดือน และเก็บบ่มในขวด 12 เดือน
              ส่วนไวน์โบลเกริ รอซโซ่ ซูเปริออเร่ ลัลเบเรลโล่ (Bolgheri Rosso Sup.L’Alberello) ใช้องุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) 50 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์คาเบอร์เน่ ฟรอง (Cabernet franc) 25 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์เปอตี แวร์โด (Pertit verdot)  25 เปอร์เซ็นต์  เก็บบ่มในถังบาร์ริค (barrique) เป็นเวลา 18 เดือน และเก็บบ่มในขวด 12 เดือน  ผลิตออกมาเพียงแค่ปีละ 6,000 ขวด
              บริษัท กวาโด อัล ตัสโซ่ (Tenuta Guado al Tasso)  ผู้ผลิตไวน์ที่อยู่ภายใต้ร่มเงาของบริษัท มาร์เคสิ อันติโนริ (Marchesi Antinori) ทำไวน์โบลเกริ รอซโซ่ ซูเปริออเร่ กวาโด อัล ตัสโซ่ (Bolgheri Rosso Sup.Guado al Tasso) ใช้องุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) 65 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์แมร์โล (Merlot) 30 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์ซีร่าห์ (Syrah) 5 เปอร์เซ็นต์ เก็บบ่มในถังบาร์ริค (barrique) เป็นเวลา 18 เดือน และเก็บบ่มในขวด 10 เดือน
              บริษัท เล มัคคิโอเล่ (Azienda Agricola Le Macchiole) ก่อตั้งเมื่อปีค.ศ.1983 โดยนายยูเจนิโอ คัมโปลมิ (Eugenio Campolmi) หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งคอนซอร์ซิโอ ดิ ตูเตล่า โบลเกริ (Consorzio di Tutela Bolgheri) ทำไวน์โบลเกริ รอซโซ่ ซูเปริออเร่ ปาเลโอ (Bolgheri Rosso Sup.Paleo) มาตั้งแต่ปีค.ศ.1989  โดยใช้องุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) เป็นส่วนผสมหลักระหว่าง 70-85 เปอร์เซ็นต์ เก็บบ่มในถังบาร์ริค (barrique) เป็นเวลาที่ยาวนาน ซึ่งไวน์จากวินเทจ 1995-1997 เป็นไวน์โบลเกริ รอซโซ่ (Bolgheri Rosso) ที่โด่งดังมาก 
              แต่หลังจากที่นางชินเซีย คัมโปลมิ (Cinzia Campolmi) เข้ามาบริหารงานแทนผู้เป็นสามี ก็เริ่มเปลี่ยนแนวคิดโดยเน้นการทำไวน์ซูเปอร์ ทัสกัน (SuperTuscans) มากขึ้น ทำให้วินเทจ 2000 จึงเป็นวินเทจสุดท้ายของไวน์โบลเกริ รอซโซ่ ซูเปริออเร่ ปาเลโอ (Bolgheri Rosso Sup.Paleo)  และนับจากวินเทจ 2001 เป็นต้นไป  ไวน์ปาเลโอ (Paleo) ไวน์เกรดตอสกาน่า ไอจีที.(Toscana IGT) ที่ใช้องุ่นพันธุ์คาเบอร์เน่ ฟรอง (Cabernet franc) 100 เปอร์เซ็นต์ จึงเข้ามาแทนที่ และไวน์จากวินเทจ 2001 / 2003-2005  ได้เรตติ้งอยู่ในระดับสูงจากนิตยสารไวน์ชั้นนำแทบทุกฉบับ
              บริษัท ซาน กุยโด (Tenuta San Guido)  กิจการของตระกูลอินชิซ่า เดลล่า ร๊อคเคตต้า (Incisa della Rocchetta family) ตระกูลขุนนางในยุคกลาง (middle age) ที่ถือครองที่ดินโดยระบอบศักดินา (feudalism)  
              ตำนานของบริษัท ซาน กุยโด (Tenuta San Guido) เริ่มขึ้นในปีค..1930  เมื่อมาร์เคเซ่ มาริโอ อินชิซ่า เดลล่า ร๊อคเคตต้า (Marchese Mario Incisa della Rocchetta) แต่งงานกับ คลาริซ เดลล่า เกราร์เดสก้า (Clarice della Gherardesca) ทายาทของมหาเศรษฐีผู้เป็นเจ้าของที่ดินในชุมชนโบลเกริ (Bolgheri)  หลังจากนั้นไม่นาน ท่านมาร์เคเซ่ ก็ย้ายถิ่นฐานจากตำบลร๊อคเคตต้า ตานาโร่ (Comune di Rocchetta Tanaro) เมืองอัสติ (Asti) แคว้นปิเอมอนเต้ (Piemonte) มาอยู่ในชุมชนโบลเกริ (Bolgheri)  และในปีค..1940  ได้ทดลองปลูกองุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) และพันธุ์คาเบอร์เน่ ฟรอง (Cabernet franc) ในไร่ปลูกซาสซิคาย่า (Sassicaia Vineyard)  โดยนำกิ่งพันธุ์มาจากเขตกราฟ (Graves) ในแคว้นบอร์โด (Bordeaux)
              ท่านมาร์เคเซ่ มีความใฝ่ฝันที่จะทำไวน์ในแบบอย่างไวน์จากแคว้นบอร์โด (Bordeaux-styled)  จึงเริ่มทำการทดลองผลิตไวน์ในฝันของตนเองในปีค..1948  โดยนำเอาชื่อของไร่ปลูกมาเป็นชื่อไวน์ ซาสซิคาย่า ซึ่งในครั้งแรกนั้นใช้องุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) ผสมกับองุ่นแดงพื้นเมืองพันธุ์ซานโจเวเซ่ (Sangiovese) และพันธุ์เนบบิโอโล่ (Nebbiolo)  แต่ในที่สุดก็เห็นว่าความฝันของตนเองควรมาจากพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon)
              ซาสซิคาย่า จากวินเทจแรกๆ เปรียบเสมือนเด็กที่เริ่มหัดเดินและถูกจัดอยู่ในเกรดวิโน่ ดา ตาโวล่า (Vino da Tavola) จึงไม่ได้รับการยอมรับจากชาวทัสกัน (Tuscans)
              ท่านมาร์เคเซ่มีความมุ่งมั่นต่อแนวคิดที่ของตนเอง และเชื่อมั่นอย่างเปี่ยมล้นว่าเดินมาถูกทาง จึงเริ่มปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ทันสมัยขึ้น มีการขยายพื้นที่เก็บไวน์ในเซลล่าให้กว้างขึ้นเพื่อรองรับจำนวนถังไวน์ที่จะใช้เวลาเก็บให้ยาวนานกว่าไวน์อิตาเลียนทั่วๆ ไป
              ในปีค..1965  จึงขยายพื้นที่ปลูกองุ่นไปยังไร่ปลูกอีก 5 แห่ง ในตำบลคาสติลิโอนเชลโล่ (Comune di Castiglioncello) และเริ่มทำการผลิตไวน์ ซาสซิคาย่า อย่างเป็นทางการในปีค..1968  เมื่อนายจาโคโม่ ทาคิส (Giacomo Tachis) จากบริษัท อันติโนริ (Antinori) ถูกส่งมาเป็นที่ปรึกษาด้านการผลิตไวน์
              ซาสซิคาย่า วินเทจ 1968  ใช้พันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) ผสมผสานกับพันธุ์คาเบอร์เน่ ฟรอง (Cabernet franc) มีการเก็บบ่มไวน์ในถังบาร์ริค (barrique) ตามแนวคิดล้ำยุคของนายจาโคโม่ ทาคิส (Giacomo Tachis)   เมื่อไวน์ออกสู่ตลาดในปีค..1972  ก็ได้รับการยกย่องจากนิตยสาร ดีแคนเตอร์ (Decanter Magazine) ให้เป็นไวน์เยี่ยมยอดที่ทำจากองุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon)  เหนือกว่าไวน์ 33 ฉลาก จาก 11 ประเทศทั่วโลก ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนของ ซาสซิคาย่า อย่างแท้จริง
              ในที่สุดความท้าทายและความคิดสร้างสรรค์ของท่านมาร์เคเซ่ ทำให้ชาวทัสกัน (Tuscans) ส่วนใหญ่เริ่มที่จะให้การยอมรับในความเป็นไวน์ “SuperTuscans” รวมถึงผู้ผลิตไวน์ในแคว้นทัสคานี (Tuscany) เริ่มที่จะเดินตามรอยของ ซาสซิคาย่า
              สุดยอดของ ซาสซิคาย่า จะมาจากวินเทจ 1985  ซึ่งนายโรเบิร์ต ปาร์คเกอร์ (Robert M. Parker Jr.) เคยกล่าวสดุดีในนิตยสาร ไวน์แอดโวเคท (Wine Advocate Magazine) ว่าเป็นหนึ่งในไวน์ที่ทำจากองุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) ที่เยี่ยมยอดที่สุดในศตวรรษนี้ และให้เรตติ้ง 100 คะแนน เป็นบทสรุปสุดท้าย
              ความเปลี่ยนแปลงของซาสซิคาย่าเกิดขึ้นอีกครั้งในปีค.ศ.1994  เมื่อถูกกำหนดให้อยู่ในเขตไวน์โบลเกริ (Bolgheri DOC appellation) ทำให้ต้องมีชื่อใหม่ว่า โบลเกริ ซาสซิคาย่า
              ในปัจจุบัน โบลเกริ ซาสซิคาย่า จะใช้องุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) 85 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์คาเบอร์เน่ ฟรอง (Cabernet franc) 15 เปอร์เซ็นต์  เก็บบ่มในถังบาร์ริค (barrique) ไม่ต่ำกว่า 18 เดือน และเก็บบ่มในขวดไม่ต่ำกว่า 6 เดือน 
              ได้รับการขนานนามว่า “The Pioneer of SuperTuscans”  
             
              ไวน์วัล ดิ คอร์เนีย (Val di Cornia)
              ไวน์วัล ดิ คอร์เนีย (Val di Cornia) เป็นไวน์เกรดดีโอซี.(DOC) ที่กำหนดเขตเมื่อปีค.ศ.1989  แหล่งผลิตจะอยู่ใน 5 ชุมชน เขตเมืองลิวอร์โน่ (Livorno) ซึ่งประกอบด้วย
              ตำบลซาสเซตต้า (Comune di Sassetta) ตำบลปิออมบิโน่ (Comune di Piombino) ตำบลซาน วินเชนโซ่ (Comune di San Vincenzo) ตำบลคัมปิเยีย มาริตติม่า (Comune di Campiglia Marittima) และตำบลซูเวเรโต้ (Comune di Suvereto) ซึ่งถือว่าเป็นเขตย่อย (sub-zone)
              นอกจากนี้ยังมีการผลิตในตำบลมอนเตแวร์ดิ มาริตติโม่ (Comune di Monteverdi Marittimo) เขตเมืองปิซ่า (Pisa) 
              มีการผลิตทั้งไวน์แดง (Vino Rosso) ไวน์ขาว (Vino Bianco) ไวน์โรซาโต้ (Rosato) และไวน์แดงชนิดหวาน (Passito) การผลิตไวน์จะอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์การผลิตของ คอนซอร์ซิโอ แปร์ ลา ตูเตล่า เดอิ วินิ วัล ดิ คอร์เนีย (Consorzio per la Tutela dei Vini Val di Cornia)  โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1.  ไวน์วัล ดิ คอร์เนีย รอซโซ่ (Val di Cornia Rosso) ชนิดธรรมดา และ “Riserva”และ “Superiore” และไวน์วัล ดิ คอร์เนีย โรซาโต้ (Val di Cornia Rosato) ชนิดธรรมดา ใช้องุ่นแดงพันธุ์ซานโจเวเซ่ (Sangiovese) ไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) พันธุ์แมร์โล (Merlot) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน ไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์  ส่วนที่เหลือจะใช้องุ่นแดงที่ปลูกในเมืองลิวอร์โน่ (Livorno) และเมืองปิซ่า (Pisa) ไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์  หากเป็นชนิดโมโนวาไรทัล (mono varietal) ให้ใช้องุ่นแดงพันธุ์ชิลิเอโจโล่ (Ciliegiolo) หรือ พันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) หรือ พันธุ์แมร์โล (Merlot) หรือ พันธุ์ซานโจเวเซ่ (Sangiovese) ไม่น้อยกว่า 85 เปอร์เซ็นต์  ส่วนที่เหลือจะใช้องุ่นแดงที่ปลูกในเมืองลิวอร์โน่ (Livorno) และเมืองปิซ่า (Pisa) ไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์
2.  ไวน์วัล ดิ คอร์เนีย รอซโซ่ (Val di Cornia Rosso) ชนิดธรรมดา ที่ผลิตจากตำบลซูเวเรโต้ (Comune di Suvereto) จะใช้องุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) ไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์แมร์โล (Merlot) ไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์  ส่วนที่เหลือจะใช้องุ่นแดงที่ปลูกในเมืองลิวอร์โน่ (Livorno) และเมืองปิซ่า (Pisa) ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์  หากเป็นชนิดโมโนวาไรทัล (mono varietal) ให้ใช้องุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) หรือ พันธุ์แมร์โล (Merlot) หรือ พันธุ์ซานโจเวเซ่ (Sangiovese) ไม่น้อยกว่า 85 เปอร์เซ็นต์  ส่วนที่เหลือจะใช้องุ่นแดงที่ปลูกในเมืองลิวอร์โน่ (Livorno) และเมืองปิซ่า (Pisa) ไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ 
3.  ไวน์วัล ดิ คอร์เนีย เบียงโค่ (Val di Cornia Bianco) ชนิดธรรมดา ใช้องุ่นเขียวพันธุ์เตรบบิอาโน่ ตอสกาโน่ (Trebbiano toscano) ไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์แวร์เมนติโน่ (Vermentino) ไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์  ส่วนที่เหลือจะใช้องุ่นเขียวที่ปลูกในเมืองลิวอร์โน่ (Livorno) และเมืองปิซ่า (Pisa) ไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์  หากเป็นชนิดโมโนวาไรทัล (mono varietal) ให้ใช้องุ่นพันธุ์แวร์เมนติโน่ (Vermentino) พันธุ์อันโซนิก้า (Ansonica) ไม่น้อยกว่า 85 เปอร์เซ็นต์  ส่วนที่เหลือจะใช้องุ่นเขียวที่ปลูกในเมืองลิวอร์โน่ (Livorno) และเมืองปิซ่า (Pisa) ไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์
4.  ไวน์วัล ดิ คอร์เนีย ปาสซิโต้ (Val di Cornia Passito) ชนิดธรรมดา ซึ่งเป็นไวน์แดงชนิดหวาน ใช้องุ่นแดงพันธุ์อาเลอาติโก้ (Aleatico) 100 เปอร์เซ็นต์  และต้องมีระดับแอลกอฮอล์ 16.0 เปอร์เซ็นต์
              ผู้ผลิตไวน์วัล ดิ คอร์เนีย (Val di Cornia Wine Producers)
              ผู้ผลิตไวน์ชนิดนี้จะมีอยู่ไม่มากนัก แต่ที่เป็นที่ยอมรับกันได้ก็เห็นจะเป็นผู้ผลิตจากตำบลซูเวเรโต้ (Comune di Suvereto)
              บริษัท กวัลโด้ เดล เร (Gualdo del Re)  จากตำบลซูเวเรโต้ (Comune di Suvereto) ของนายนิโก้ รอซซี่ (Nico Rossi) ผลิตไวน์ปีละ 100,000 ขวด บนพื้นที่ 20 เฮ็คต้าร์ มีไวน์วัล ดิ คอร์เนีย รอซโซ่ อิ เรนเนโร่ (Val di Cornia Rosso I’Rennero) ใช้องุ่นแดงพันธุ์แมร์โล (Merlot) 100 เปอร์เซ็นต์ เก็บบ่มในถังบาร์ริค (barrique) 15 เดือน และเก็บบ่มในขวด 21 เดือน
              ส่วนอีกฉลากหนึ่งจากผู้ผลิตรายนี้ที่โดดเด่นไม่แพ้กัน คือ ไวน์วัล ดิ คอร์เนีย รอซโซ่ กวัลโด้ เดล เร (Val di Cornia Rosso Gualdo del Re) ใช้องุ่นแดงพันธุ์ซานโจเวเซ่ (Sangiovese) 100 เปอร์เซ็นต์  เก็บบ่มในถังบาร์ริค (barrique) 18 เดือน และเก็บบ่มในขวด 18 เดือน 
              บริษัท เปตร้า (Petra)  จากตำบลซูเวเรโต้ (Comune di Suvereto) ของนายวิตตอริโอ โมเรตติ (Vittorio Moretti) เจ้าของไวน์เปตร้า (Petra) ไวน์ซูเปอร์ทัสกัน (SuperTuscans) ที่กำลังมาแรงทำไวน์วัล ดิ คอร์เนีย รอซโซ่ เอโบ้ (Val di Cornia Rosso Ebo) โดยผสมผสานระหว่างองุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) พันธุ์แมร์โล (Merlot) และพันธุ์ซานโจเวเซ่ (Sangiovese)  เก็บบ่มในถังบาร์ริค (barrique) 12 เดือน และเก็บบ่มในขวด 8 เดือน 
              บริษัท เปตริชชิ เอ เดล เปียนต้า (Azienda Agricola Petricci e del Pianta) จากตำบลซูเวเรโต้ (Comune di Suvereto) ของตระกูลเปตริชชิ (Petricci family)  ทำไวน์วัล ดิ คอร์เนีย รอซโซ่ บูก้า ดิ เคลออนเต้ (Val di Cornia Rosso Buca di Cleonte) โดยใช้องุ่นแดงพันธุ์ซานโจเวเซ่ (Sangiovese) 70 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) 30 เปอร์เซ็นต์  เก็บบ่มในถังบาร์ริค (barrique) 15 เดือน และเก็บบ่มในขวด 4 เดือน

              ไวน์แตร์ราติโค่ ดิ บิบโบน่า (Terratico di Bibbona)
              ไวน์แตร์ราติโค่ ดิ บิบโบน่า (Terratico di Bibbona) เป็นไวน์เกรดดีโอซี.(DOC) ที่กำหนดขึ้นเมื่อปีค.ศ.2006  แหล่งผลิตอยู่ใน 4 ชุมชน เขตเมืองลิวอร์โน่ (Livorno) ซึ่งประกอบด้วย
              ตำบลบิบโบน่า (Comune di Bibbona) ตำบลเชชิน่า (Comune di Cecina) ตำบลคอลเล่ซาลเวตติ (Comune di Collesalvetti) และตำบลโรสซินยาโน่ (Comune di Rossignano)  
              มีการผลิตทั้งไวน์แดง (Vino Rosso) ไวน์ขาว (Vino Bianco) และไวน์โรซาโต้ (Vino Rosato) การผลิตไวน์จะอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์การผลิตของ มิเนสเตโร่ เดลเล่ โปลิติเค่ อากริโคเล่ เอ ฟอเรสตาลิ (Ministero delle Politiche Agricole e Forestali)  โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1.  ไวน์แตร์ราติโค่ ดิ บิบโบน่า รอซโซ่ (Terratico di Bibbona Rosso) ชนิดธรรมดา และ “Superiore” และไวน์แตร์ราติโค่ ดิ บิบโบน่า โรซาโต้ (Terratico di Bibbona Rosato) ชนิดธรรมดา ใช้องุ่นแดงพันธุ์ซานโจเวเซ่ (Sangiovese) ไม่น้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์แมร์โล (Merlot) ไม่เกิน 35 เปอร์เซ็นต์  ส่วนที่เหลือจะใช้องุ่นแดงที่ปลูกในแคว้นทัสคานี (Tuscany) ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์  หากเป็นชนิดโมโนวาไรทัล (mono varietal) ให้ใช้องุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) หรือ พันธุ์แมร์โล (Merlot) หรือ พันธุ์ซานโจเวเซ่ (Sangiovese) ไม่น้อยกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือจะใช้องุ่นแดงที่ปลูกในแคว้นทัสคานี (Tuscany) ไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ 
2.  ไวน์แตร์ราติโค่ ดิ บิบโบน่า เบียงโค่ (Terratico di Bibbona Bianco) ชนิดธรรมดา ใช้องุ่นเขียวพันธุ์แวร์เมนติโน่ (Vermentino) ไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือจะใช้องุ่นเขียวที่ปลูกในแคว้นทัสคานี (Tuscany) ไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์  หากเป็นชนิดโมโนวาไรทัล (mono varietal) ให้ใช้องุ่นเขียวพันธุ์แวร์เมนติโน่ (Vermentino) หรือพันธุ์เตรบบิอาโน่ ตอสกาโน่ (Trebbiano toscano) ไม่น้อยกว่า 85 เปอร์เซ็นต์  ส่วนที่เหลือจะใช้องุ่นเขียวที่ปลูกในแคว้นทัสคานี (Tuscany) ไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ 

              ไวน์เอลบ้า (Elba)
              ไวน์เอลบ้า (Elba) เป็นไวน์เกรดดีโอซี.(DOC) ที่กำหนดขึ้นเมื่อปีค.ศ.1999  แหล่งผลิตจะอยู่บนเกาะเอลบ้า (Elba Island) เขตเมืองลิวอร์โน่ (Livorno)
              มีการผลิตทั้งไวน์แดง (Vino Rosso) ไวน์โรซาโต้ (Vino Rosato) ไวน์ขาว (Vino Bianco) ไวน์ขาวมีฟอง (Vino Spumante) ไวน์วิน ซานโต้ (Vin Santo) และไวน์วิน ซานโต้ อ๊อคคิโอ ดิ แปร์นิเช่ (Vin Santo Occhio di Pernice)  การผลิตไวน์จะอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์การผลิตของ มิเนสเตโร่ เดลเล่ โปลิติเค่ อากริโคเล่ เอ ฟอเรสตาลิ (Ministero delle Politiche Agricole e Forestali)  โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1.  ไวน์เอลบ้า รอซโซ่ (Elba Rosso) ชนิดธรรมดา และ “Riserva” ไวน์เอลบ้า โรซาโต้ (Elba Rosato) ชนิดธรรมดา และไวน์เอลบ้า วิน ซานโต้ อ๊อคคิโอ ดิ แปร์นิเช่ (Elba Vin Santo Occhio di Pernice) ชนิดธรรมดา ใช้องุ่นแดงพันธุ์ซานโจเวเซ่ (Sangiovese) ไม่น้อยกว่า 60 เปอร์เซ็นต์  ส่วนที่เหลือจะใช้องุ่นแดงที่ปลูกในเมืองลิวอร์โน่ (Livorno) ไม่เกิน 40 เปอร์เซ็นต์
2.  ไวน์เอลบ้า เบียงโค่ (Elba Bianco) ชนิดธรรมดา ไวน์เอลบ้า สปูมานเต้ (Elba Spumante) ชนิดธรรมดา และไวน์เอลบ้า วิน ซานโต้ (Elba Vin Santo) ชนิดธรรมดา และ “Riserva”  ใช้องุ่นเขียวพันธุ์เตรบบิอาโน่ ตอสกาโน่ (Trebbiano toscano) ไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์อันโซนิก้า (Ansonica) พันธุ์แวร์เมนติโน่ (Vermentino) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน ไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์  ส่วนที่เหลือจะใช้องุ่นเขียวที่ปลูกในเมืองลิวอร์โน่ (Livorno) ไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์  หากเป็นชนิดโมโนวาไรทัล (mono varietal) ให้ใช้องุ่นเขียวพันธุ์อันโซนิก้า (Ansonica) ไม่น้อยกว่า 85 เปอร์เซ็นต์  ส่วนที่เหลือจะใช้องุ่นเขียวที่ปลูกในเมืองลิวอร์โน่ (Livorno) ไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ 
             
              ไวน์ซูเปอร์ทัสกัน จากเมืองลิวอร์โน่
              คงจะไม่มีใครกล้าปฏิเสธถึงความดังของไวน์ซูเปอร์ทัสกัน (SuperTuscans) จากเมืองลิวอร์โน่ (Livorno)  ไม่ว่าจะเป็นไวน์ซูเปอร์ทัสกัน (SuperTuscans) รุ่นบุกเบิก หรือไวน์ซูเปอร์ทัสกัน (SuperTuscans) รุ่นใหม่ ที่โด่งดังไม่แพ้กัน
              ไวน์มาสเซโต้ (Masseto)   
              เป็นไวน์ซูเปอร์ทัสกัน (SuperTuscans) จาก บริษัท เดล ลอเนลลาย่า (Tenuta dell’ Ornellaia) จากเขตโบลเกริ (Bolgheri Zone) ตำบลคาสตานเยโต้ คาร์ดุชชิ (Comune di Castagneto Carducci) ซึ่งก่อตั้งโดยมาร์เคเซ่ โลโดวิโก้ อันติโนริ (Marchese Lodovico Antinori)         
              ไวน์มาสเซโต้ เป็นสุดยอดไวน์ที่ยังหาไวน์ตัวใดก้าวขึ้นมาเทียบชั้นได้ ผลิตเป็นครั้งแรกในวินเทจ 1983 โดยใช้องุ่นพันธุ์แมร์โล (Merlot) 100 เปอร์เซ็นต์      
              ตำนานของไวน์มาสเซโต้ (Masseto) เริ่มขึ้นเมื่อมาร์เคเซ่ โลโดวิโก้ อันติโนริ (Marchese Lodovico Antinori) น้องชายของ มาร์เคเซ่ ปิเอโร่ อันติโนริ (Marchese Piero Antinori) แห่งบริษัท มาร์เคสิ อันติโนริ (Marchesi Antinori) ได้แยกตัวออกมาจากธุรกิจของตระกูลไปแสวงหาความท้าทายใหม่ๆ โดยมาก่อตั้งบริษัท เดล ลอร์เนลลาย่า (Tenuta dell’Ornellaia) บนที่ดิน 91 เฮ็คตาร์ ในเขตโบลเกริ (Bolgheri Zone) ตำบลคาสตานเยโต้ คาร์ดุชชิ (Comune di Castagneto Carducci) ชายฝั่งมาเรมม่า (Maremma Coastal) ที่ดินผืนนี้เป็นที่ดินมรดกที่ได้รับจากมารดา  โดยที่ มาร์เคเซ่ โลโดวิโก้ ใฝ่ฝันจะทำไวน์ของตนให้ทัดเทียมกับไวน์โบลเกริ ซาสซิคาย่า (Bolgheri Sassicaia) ของ มาร์เคเซ่ มาริโอ อินชิซ่า เดลล่า ร๊อคเคตต้า (Marchese Mario Incisa della Rocchetta) ผู้มีศักดิ์เป็นลุง
              เมื่อเริ่มแรก มาร์เคเซ่ โลโดวิโก้ ได้ปลูกองุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) พันธุ์คาเบอร์เน่ ฟรอง (Cabernet franc) และพันธุ์แมร์โล (Merlot) ซึ่งได้มีการทดลองแล้วว่าเหมาะกับสภาพอากาศเฉพาะถิ่น (micro-climate) และสภาพดินในเขตโบลเกริ (Bolgheri Zone) เขาเรียนรู้วิธีการปลูกองุ่นและการจัดการในไร่ปลูกมาจากนายอันเดร เชลิสท์เชฟ (Andre Tchelistcheff) ผู้ซึ่งเป็นผู้รอบรู้เกี่ยวกับองุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ (Cabernet) และเรียนรู้วิธีการทำไวน์มาจากนายมิทเชล โรลลองด์ (Michel Rolland) ไวน์เมคเกอร์ชั้นนำจากแคว้นบอร์โด (Bordeaux)
              มาร์เคเซ่ โลโดวิโก้ ทดลองเบลนด์องุ่นหลายทางเลือก แต่ในที่สุดก็ใช้องุ่นพันธุ์แมร์โล (Merlot) เพียงชนิดเดียว สำหรับไวน์มาสเซโต้ ของตน
              แต่หลังจากที่ได้ลงทุนลงแรงมาเกือบ 20 ปี มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในบริษัท เดล ลอร์เนลลาย่า (Tenuta dell’Ornellaia) ในเดือนเมษายน ค..1999  เมื่อนายโรเบิร์ท มอนดาวิ (Robert Mondavi) มหาเศรษฐีชาวอเมริกันเชื้อสายอิตาเลียนผู้มีกิจการทำไวน์ในรัฐแคลิฟอร์เนีย  เข้าไปถือครองหุ้นของบริษัท เดล ลอร์เนลลาย่า (Tenuta dell’ Ornellaia) ไว้ส่วนหนึ่ง และจนกระทั่งในปีค..2002  ได้เข้าถือครองไว้ทั้งหมด โดยแบ่งสรรให้บริษัท มาร์เคสิ เด เฟรสโคบาลดิ (Marchesi de’ Frescobaldi) ผู้ผลิตไวน์รายใหญ่ของแห่งเมืองฟลอเรนซ์ (Florence) ถือครองหุ้น 50 เปอร์เซนต์
              และเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ.2005  บริษัท เดล ลอร์เนลลาย่า (Tenuta dell’ Ornellaia) ถูกเปลี่ยนมือไปอยู่กับบริษัท มาร์เคสิ เด เฟรสโคบาลดิ (Marchesi de’ Frescobaldi) โดยสิ้นเชิง
                           
              ไวน์เรดิกัฟฟิ (Redigaffi) และ ไวน์จุสโต้ ดิ โนตริ (Giusto di Notri)
              เป็นไวน์ซูเปอร์ทัสกัน (SuperTuscans) จาก บริษัท ตูอา ริต้า (Tua Rita) บูติคไวเนอรี (Boutique Winery) ของนางริต้า ตูอา (Rita Tua) แห่งตำบลซูเวเรโต้ (Comune di Suvereto) 
              นางริต้า ตูอา (Rita Tua) เข้ามาซื้อที่ดิน 22 เฮ็คต้าร์ บนที่สูง 100 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล จากเจ้าของที่รายเดิมตั้งแต่ค.ศ.1984  ซึ่งแต่เดิมเคยมีการปลูกองุ่นอยู่บ้างแล้ว และต่อมาได้ปลูกองุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) และพันธุ์แมร์โล (Merlot) เพิ่มเติม  เริ่มทำการผลิตไวน์ในปีค.ศ.1985 โดยมีนายสเตฟาโน่ คิอ๊อคโชลิ (Stefano Chioccioli) เป็นไวน์เมคเกอร์
              ไวน์เรดิกัฟฟิ  ทำจากองุ่นแดงพันธุ์แมร์โล (Merlot) 100 เปอร์เซ็นต์ เก็บบ่มในถังบาร์ริค (barrique) ใหม่เป็นเวลา  18 เดือน และเก็บบ่มในขวด 12 เดือน  เป็นหนึ่งในอิตาเลียนแมร์โล ที่ผลิตออกมาวัดรอยเท้าของไวน์มาสเซโต้ (Masseto) ของบริษัท เดล ลอเนลลาย่า (Tenuta dell’Ornellaia)  เพื่อนบ้านแห่งเขตโบลเกริ (Bolgheri Zone) โดยจะผลิตปีละ 8,800 ขวด เท่านั้น 
Giusto di Notri
              ไวน์จุสโต้ ดิ โนตริ  ใช้องุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) 65 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์แมร์โล (Merlot) 25 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์คาเบอร์เน่ ฟรอง (Cabernet franc) 15 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์เปอตี แวร์โด (Petit verdot) 5 เปอร์เซ็นต์  เก็บบ่มในถังบาร์ริค (barrique) ใหม่เป็นเวลา 18 เดือน และเก็บบ่มในขวด 10 เดือน ผลิตปีละ 24,000 ขวด
             
              ไวน์กุยดัลแบร์โต้ (Guidalberto) และ ไวน์เล ดิเฟเซ่ (Le Difese)
              เป็นไวน์ซูเปอร์ทัสกัน (SuperTuscans) จาก บริษัท ซาน กุยโด (Tenuta San Guido) เจ้าของไวน์โบลเกริ ซาสซิคาย่า (Bolgheri Sassicaia) ที่โด่งดังไปทั้งโลก
              ไวน์กุยดัลแบร์โต้ ผลิตครั้งแรกจากวินเทจ 2000  ใช้องุ่นแดงพันธุ์แมร์โล (Merot) และพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) อย่างละ 45 เปอร์เซ็นต์ รวมกับองุ่นพันธุ์ซานโจเวเซ่ (Sangiovese) 10 เปอร์เซ็นต์  เก็บบ่มในถังบาร์ริค (barrique) และถังไม้อเมริกันโอ๊ก (American oak) เป็นเวลา 14 เดือน และเก็บบ่มในขวดเป็นเวลา 3 เดือน   
              ไวน์เล ดิเฟเซ่ ผลิตครั้งแรกจากวินเทจ 2005  ใช้องุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) 70 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์ซานโจเวเซ่ (Sangiovese) 30 เปอร์เซ็นต์  เก็บบ่มในถังบาร์ริค (barrique) และถังไม้อเมริกันโอ๊ก (American oak) เป็นเวลา 14 เดือน และเก็บบ่มในขวดเป็นเวลา 3 เดือน เช่นเดียวกันกับไวน์กุยดัลแบร์โต้ (Guidalberto)
             
              ไวน์เปตร้า (Petra)
              เป็นไวน์ซูเปอร์ทัสกัน (SuperTuscans) จาก บริษัท เปตร้า (Petra) แห่งตำบลซูเวเรโต้ (Comune di Suvereto) ของนายวิตตอริโอ โมเรตติ (Vittorio Moretti) นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ผู้เป็นเจ้าของกลุ่มบริษัท โมเรตติ (Moretti Group)  ในปลายปีค.ศ.2003  ได้ว่าจ้างนายปาสกาล ชาตองเน่ (Pascal Chatonnet) ชาวฝรั่งเศสเข้ามาร่วมงานในฐานะผู้ควบคุมการผลิตไวน์ ซึ่งจะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนจากไวน์เปตร้า (Petra) วินเทจ 2004   
              ผลิตครั้งแรกจากวินเทจ 1997  ใช้องุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) 70 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์แมร์โล (Merlot) 30 เปอร์เซ็นต์  เก็บบ่มในถังบาร์ริค (barrique) เป็นเวลา  18 เดือน และเก็บบ่มในขวด 18 เดือน
             
              ไวน์มาการิ (Magari) และ ไวน์โปรมิส (Promis)
              เป็นไวน์ซูเปอร์ทัสกัน (SuperTuscans) จาก บริษัท คาซ่า มาร์คันด้า (Ca’ Marcanda) แห่งตำบลคาสตานเยโต้ คาร์ดุชชิ (Comune di Castagneto Carducci) ฐานธุรกิจแห่งใหม่ของนายแอนเจโล กาย่า (Angelo Gaja) ในแคว้นทัสคานี (Tuscany) ที่เข้าไปร่วมลงทุนเมื่อปีค..1996
              ไวน์มาการิ  ใช้องุ่นแดงพันธุ์แมร์โล (Merlot) 50 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์คาเบอร์เน่ โซวินยอง (Cabernet sauvignon) และพันธุ์คาเบอร์เน่ ฟรอง (Cabernet franc) อย่างละ 25 เปอร์เซ็นต์  เก็บบ่มในถังบาร์ริค (barrique) 18 เดือน และเก็บบ่มในขวด 6 เดือน
              ไวน์โปรมิส  ใช้องุ่นแดงพันธุ์แมร์โล (Merlot) 55 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์ซีร่าห์ (Syrah) 35 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์ซานโจเวเซ่ (Sangiovese) 10 เปอร์เซ็นต์  เก็บบ่มในถังบาร์ริค (barrique) 18 เดือน และเก็บบ่มในขวด 6 เดือน

              ไวน์ปาเลโอ (Paleo) และ ไวน์เมสซอริโอ (Messorio)
              เป็นไวน์ซูเปอร์ทัสกัน (SuperTuscans) คู่แฝดจาก บริษัท เล มัคคิโอเล่ (Azienda Agricola Le Macchiole) แห่งตำบลคาสตานเยโต้ คาร์ดุชชิ (Comune di Castagneto Carducci) ของนางชินเซีย คัมโปลมิ (Cinzia Campolmi) ผู้เข้ามาดูแลกิจการหลังจากที่นายยูเจนิโอ คัมโปลมิ (Eugenio Campolmi) ผู้สามี ได้เสียชีวิตในปีค.ศ.2002
              ไวน์ปาเลโอ  ผลิตครั้งแรกจากวินเทจ 1989  ใช้องุ่นแดงพันธุ์คาเบอร์เน่ ฟรอง (Cabernet franc) 100 เปอร์เซ็นต์  เก็บบ่มในถังบาร์ริค (barrique) ใหม่ เป็นเวลา 16 เดือน และเก็บบ่มในขวด 6 เดือน
              ไวน์เมสซอริโอ ผลิตครั้งแรกจากวินเทจ 1994  ใช้องุ่นแดงพันธุ์แมร์โล (Merlot) 100 เปอร์เซ็นต์ เก็บบ่มในถังบาร์ริค (barrique) ใหม่ เป็นเวลา 18 เดือน และเก็บบ่มในขวด 6 เดือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น